กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
รหัสโครงการ 2563-L1494 -
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านเหรียงห้อง หมู๋ที่ 12
วันที่อนุมัติ 28 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 สิงหาคม 2563 - 31 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 14,425.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประคอง ท่าจีน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.652,99.613place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 ส.ค. 2563 31 มี.ค. 2564 14,425.00
รวมงบประมาณ 14,425.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบท อีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน นั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจ หรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลื่อดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครั คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ การรักษาพยาบาลรวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มาก กว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ซึ่งทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคคลและอาจมีอายุสั้นกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกท้ัังรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การตรวจโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนด้วยเหตุที่โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาเพื่อควบคุมโรคนั้นประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การใช้ยาเบาหวาน การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพทั่วไป ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงคนปกติและสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ยืนยาวและมีความสุข     ดังนั้น ดำเนินงานเน้นนโยบาย เร่งการป้องกันโรคโดยใช้เครือข่ายระหว่าง รพ.สต.กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชน จะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดการดำเนินงาน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ ในพื้นที่หมู่ที่ 12 บ้านเหรียงห้องมีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 352 คน อาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 13 คน และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ขมรมอาสาสม้ครสาธารณสุขบ้านเหรียงห้อง หมู่ที่ 12 จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองได้ตามเป้าหมายผ่านตัวชี้วัด

90.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่ออย่างเป็นระบบ

ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่ออย่างเป็นระบบทุกคน

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 170 14,425.00 1 14,425.00
2 พ.ย. 63 กิจกรรมให้บริการตรวจคัดกรองแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 170 14,425.00 14,425.00

ขั้นเตรียมการ 1. เตรียมกลุ่มเป้าหมายที่ต้องตรวจคัดกรอง 2. ประชุมเตรียมชี้แจง อสม.ทบทวนความรู้ก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานในเขตรับผิดชอบของตัวเอง ขั้นดำเนินการ 1. ดำเนินการให้บริการตรวจคัดกรองแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 2. ติดตามกลุ่มเสี่ยงเพื่อรับรองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3. ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ 4. ติดตามเยี่ยมบ้านผลการรักษาภายหลังการส่งต่อ 5. สรุปและประเมินโครงการเมื่อสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองและสามารถรู้ว่าคัดกรองตัวเองอยู่ในกลุ่มปกติด กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มป่วย
  2. ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ และลดภาวะโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ
  3. กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2563 09:01 น.