กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพศูนย์เรียนรู้ด้านสุขภาพจิตบ้านแม่ที ต.ลำไพล อ.เทพา จ.สงขลา
รหัสโครงการ 60-L5192-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มัสยิดอุมมุลกูรอ บ้านแม่ที
วันที่อนุมัติ 6 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 เมษายน 2560 - 23 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุรเดช เดเระมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มัสยิดمَسْجِدมีความหมายทั่วไป คือสถานที่สำหรับก้มกราบอัลลอฮ์ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการละหมาดและการประกอบศาสนกิจอื่นๆเรียกมัสยิดในความหมายนี้ว่าเป็นบ้านของอัลลอฮ์ก็ได้ มัสยิดจึงเป็นองค์กรที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์และพัฒนามุสลิมให้เป็นมุอ์มินที่สมบูรณ์ มัสยิดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชนมุสลิม และเป็นสัญลักษณ์ที่สามารถบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรือง และความเสื่อมถอยของชุมชนนั้นๆ ได้อย่างดี การให้ความสำคัญกับมัสยิดในการมีส่วนร่วมไม่ใช่เพียงแค่เป็นสถานที่ละหมาดเท่านั้นจะต้องมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆตามศาสนบัญญัติอีกด้วย หมู่4, 10และหมู่ 13 ต.ลำไพล มีผู้ประชากรนับถือศาสนาอิสลามมากกว่า ร้อยละ 90 ซึ่งประเพณีทางศาสนาของมุสลิมใน ๓ หมู่บ้านมีวิถีชีวิตที่ตรงกับคำสอนของศาสนา เช่นการละหมาด ซึ่งการละหมาดก็แบ่งออกได้หลายประเภทเช่นการละหมาด๕ เวลาซึ่งการละหมาดนี้ชาวมุสลิมจะปฏิบัติเป็นศาสนกิจประจำวันทุกวัน การละหมาดอีดทั้งสองเป็นการละหมาดเนื่องในวันฮารีรายอซึ่งทุกมัสยิดจะละหมาดพร้อมกันในตอนเช้าของวันตรุษ การละหมาดญะนาซะฮฺ(جَنَازَةٌ) เป็นการละหมาดให้กับศพของผู้ที่เสียชีวิตซึ่งจะทำก่อนนำศพไปฝังไว้ที่สุสาน(กุโบร์)การละหมาดญุมอะฮเป็นการละหมาดในทุกวันศุกร์จำเป็นให้กระทำสำหรับเพศชาย ความเจ็บป่วยเป็นภาวะที่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แต่ละคนมีวิธีปรับตัวต่อ การเจ็บป่วยที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของโรค ลักษณะและวิธีการแก้ปัญหาของผู้ป่วย และสภาพแวดล้อมทางครอบครัวสังคม ภาวะจิตสังคมของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ชุมชนเองควรให้ความ สนใจ และให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมซึ่งการที่ผู้เจ็บป่วยต้องเผชิญกับปัญหาชีวิต ย่อมมีความกังวลเป็นธรรมดา กังวลและซึมเศร้า เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด แต่การแสดงออกอาจไม่เท่ากัน ระยะเวลาที่มีอาการสั้นหรือยาว ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวของผู้ป่วยและญาติดังนั้นในฐานะอิหม่ามประจำหมู่บ้านแม่ทีจึงได้จัดทำโครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพศูนย์เรียนรู้ด้านสุขภาพจิตบ้านแม่ที ต.ลำไพลขึ้น เพื่อพัฒนามัสยิดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพจิตและให้ชุมชนมีความรู้ในเรื่องมารยาทการเยี่ยมบ้านผู้เจ็บป่วยตามหลักศาสนา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ มัสยิดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพจิต

ร้อยละ 90 ประชาชนใช้มัสยิดเป็นแหล่งเรียนด้านสุขภาพจิต

2 เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ในเรื่องมารยาทการเยี่ยมบ้านผู้เจ็บป่วยตามหลักศาสนา

ร้อยละ 80 ชุมชนมีความรู้ด้านมารยาทการเยี่ยมบ้านผู้เจ็บป่วย

3 เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ญาติและตัวผู้ป่วย

ร้อยละของผู้ป่วยและญาติ ได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างน้อย ๑ ครั้ง/ปี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลักการเยี่ยมผู้เจ็บป่วยผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ ญาติผู้เสียชีวิต
    1.1กิจกรรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์สุขภาวะชุมชนแบบมีส่วนร่วม (อสม. แกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้สนใจ ) 1.2กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศาสนาและการช่วยเหลือด้วยกองทุนญานาซะห์
    1.3เยี่ยมผู้เจ็บป่วยผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ ญาติผู้เสียชีวิต ร่วมกับผู้นำศาสนา อสม. เจ้าหน้าที่ PCU.3 จำนวน 15 คน ทั้ง3 หมู่บ้าน
  2. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อช่วยเหลือผู้เสียชีวิตและญาติที่มีฐานะยากจน
  3. ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2560 15:31 น.