กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเท่ได้แม้ไม่มียาเสพติด
รหัสโครงการ 2564– L5314 -2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนบ้านกาแบง
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 17,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายศุภมาตร เกษม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดให้โทษในสังคมไทย ได้ลุกลามไปแทบจะทั่วประเทศ โดยไม่จำกัดเฉพาะคนในวัยแรงงานเท่านั้น แต่ยังลุกลามไปสู่กลุ่มวัยหนุ่มสาวเยาวชน วัยรุ่น และแม้กระทั่งเด็กที่ยังเรียนในระดับประถมศึกษา มีการประเมินกันว่าใน บ้านกาแบง ตำบลแหลมสน ซึ่งมีประชากร214ครัวเรือน 771คนในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 3-5หรือ20-30 คน เป็นผู้เสพยาเสพติด ประเภทแอมเฟตตามีน (ยาบ้า) ยากล่อมประสา ยาแก้ไอและน้ำกระท่อม เป็นต้น

สถานการณ์ดังกล่าว นอกจากเกิดผลกระทบต่อสุขภาวะของผู้เสพเองแล้ว ยังก่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงในชีวิต และทรัพย์สินชองชาวตำบลแหลมสนโดยรวม โดยพบว่า ครอบครัวต้องสูญเสียรายได้ และเสียโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจ ครอบครัวแตกแยก มีสถิติการเกิดอาชญากรรมเพิ่มขึ้นในหมู่บ้าน ประกอบด้วย การลักขโมยทรัพย์สิน ทะเลาะวิวาท และการประทุษร้ายซึ่งกันและกัน

คณะผู้ดำเนินโครงการ มีความเห็นว่า การปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้ยังคงดำเนินอยู่ต่อไปโดยไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากจะก่อผลกระทบต่อสุขภาวะส่วนตัวของผู้เสพเองแล้ว ยังกระทบต่อความสงบสุขในท้องถิ่น ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงในชีวิต และทรัพย์สิน ของชาวชุมชนบ้านกาแบงโดยรวม จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการป้องกัน และแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วม ทั้งจากภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น เอกชน และสมาชิกชุมชนในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแสวงหาแนวร่วม ในการป้องกัน และแก้ไขปัญยาเสพติดในชุมชน อย่างมีส่วนร่วม

ทุกเครือข่ายในชุมชนยอมรับและตระหนักในปัญหายาเสพติด

0.00
2 เพื่อให้สมาชิกชุมชนตระหนักในปัญหายาเสพติด และมีจิตสำนึกที่จะแก้ปัญหาด้วย

ร้อยละ50 ของผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความตระหนักและมีจิตสำนึกและสมัครใจเข้าร่วมโครงแก้ปัญหา

0.00
3 เพื่อสนับสนุนการลด ละ และเลิก การดื่มน้ำกระท่อม และเสพสารเสพติดชนิดอื่น ๆ

จำนวนผู้ดื่มน้ำใบกระท่อม และเสพยาเสพติด ชนิดอื่นๆลดลง

0.00
4 เพื่อการเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงที่อาจตกเป็นผู้เสพยา

ไม่พบผู้เสพยาเสพติดรายใหม่ในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,000.00 0 0.00
25 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดประชุมผู้นำองค์กรด้านความมั่นคง 0 3,240.00 -
25 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดประชุมผู้ปกครองจาก 50 ครัวเรือน 0 12,780.00 -
25 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 เยี่ยมบ้านผู้ปกครอง ที่เข้าร่วมโครงการ 0 0.00 -
25 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดทำป้ายไวนิล 0 480.00 -
25 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 ประเมินผล ถอดบทเรียน รายงานผลการดำเนินโครงการ 0 500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ก่อให้เกิดเอกภาพในความเข้าใจปัญหายาเสพติด และแนวทางแก้ไขปัญหา ของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย และสมาชิกชุมชน

2.สมาชิกชุมชนตระหนักในปัญหายาเสพติด และเห็นสำคัญในการร่วมกันแก้ไขปัญหา และเฝ้าระวังป้องกัน ผู้อยู่ในปกครองให้ปลอดภัยจากยาเสพติด

3.จะช่วยลดอุปสรรคต่อการพัฒนายกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2563 10:01 น.