กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียน
รหัสโครงการ 2564 – L5314 - 2 – 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 7,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนัฐพงค์ หมีนหวัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลภาวะโภชนาการ ในปีการศึกษา 2563 นักเรียนโรงเรียนเพียงหลวง 4 ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี จำนวน 26 คน พบเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 38.46 ซึ่งปัญหาภาวะทุพโภชนาการนี้ อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์จิตใจและสังคมตามมาจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิตการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กและส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก

การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

นอกจากปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กแล้ว ยังพบปัญหาที่สำคัญอีกประการ คือปัญหาการจัดการขยะ เนื่องจากสภาพแวดล้อมของชุมชนและโรงเรียนนั้นติดกับป่าชายเลน จึงมีขยะจำพวกถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ขวดแก้ว เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงใบไม้ และขยะเปียกตามครัวเรือน ซึ่งยังไม่มีวิธีการจัดการขยะที่ถูกต้อง จึงส่งผลให้เกิดปัญหาสภาพแวดล้อมตามมา ซึ่งปัญหาของสภาพแวดล้อมนั้นก็จะส่งผลกับสุขภาพของนักเรียนและทุกคนในชุมชนโดยตรง

โรงเรียนเพียงหลวง๔ ฯ ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียนขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้อง รู้จักดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนและในบริเวณชุมชน ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง นอกจากนี้นักเรียนยังได้รู้จักการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)ส่งเสริมสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการเด็กที่เสี่ยงต่อการมีภาวะปัญหาภาวะโภชนาการ
  1. ร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ

  2. ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการมีจำนวนลดลง

0.00
2 เพื่อให้ครู ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ และความเข้าใจในการคัดแยกขยะรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขอนามัยที่ดี
  1. ร้อยละ 90 ของครู  ผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะแต่ละประเภท

  2. ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองและนักเรียนสามารถคัดแยกขยะแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย
  1. ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

  2. ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

0.00
4 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) และการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

1.ร้อยละ 90 ของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) และการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,600.00 0 0.00
25 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 เฝ้าระวัง 0 540.00 -
25 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 ติดตาม 0 680.00 -
25 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 ส่งเสริมการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกาย 0 0.00 -
25 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ 0 2,300.00 -
25 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 การจัดซื้ออุปกรณ์แยกขยะ 0 1,780.00 -
25 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) 0 1,800.00 -
25 ก.พ. 64 - 30 พ.ย. 64 รายงานโครงการ 0 500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามเป้าหมาย
  2. นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น
  3. นักเรียน ครู ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ
  4. มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)เพื่อเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2563 10:33 น.