กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัยและส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษ
รหัสโครงการ 64-L3367-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มกราคม 2564 - 30 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 50,260.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน
20.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม
30.00
3 ร้อยละของประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง
54.46
4 ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน
48.45
5 ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
20.52
6 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย
72.80

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อ ที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีอัตราป่วยต่อแสนประชากรดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 119.10 โรคความดันโลหิตสูง 708.74 โรคหัวใจและหลอดเลือด 901.31 และสำหรับอัตราการตายต่อแสนประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 85.04 โรคความดันโลหิตสูง 3.64 และโรคหัวใจและหลอดเลือด 55.29 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2550) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอโดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีสารเคมี มีการปนเปื้อนของสารเคมีต่างๆ ความเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เป็นต้น
ตำบลเขาย่า เป็นพื้นที่กลางน้ำพื้นที่ทั้งหมด 48,104 ไร่ แบ่งการปกครองเป็น 10 หมู่บ้าน มีประชากร 4,599 คน เพศชาย 2,884 คน เพศหญิง 2915 คนจำนวน1,747 ครัวเรือน เฉลี่ย 0.61 คน/ครัวเรือนมีสถิติร้อยละการป่วยด้วยโรคกล่าวคือ มะเร็งทุกชนิดร้อยละ 0.47 โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 13.90 โรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 0.28 สำหรับอัตราการตายร้อยละของประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 0.18 สถิติร้อยละของการบริโภคผักกลุ่มเด็กและเยาวชนร้อยละ30 กลุ่มวัยทำงานร้อยละ 60 กลุ่มผู้สูงอายุร้อยละ 80
จากการสำรวจครัวเรือนที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ ในเรื่องการปลูกพืชผักปลอดภัย ที่เพียงพอต่อการนำไปบริโภคในครัวเรือน การสำรวจรายจ่ายครัวเรือนที่ใช้ซื้อผักผลไม้ในสัปดาห์ล่าสุด และปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน จากการมีส่วนร่วมของแกนนำและคนในหมู่บ้านพบว่า 1. ครัวเรือนทั้งหมดของตำบลพบว่าร้อยละ 17.55 ปลูกผักผลไม้โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพในปัจจุบัน โดยมีการปลูกผักสวนครัวชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือ พริก คะน้า เหล่านี้เป็นต้น ปลูกไว้บริโภคในครัวเรือน หากเหลือจากการบริโภคจะแบ่งขายในชุมชน นอกจากนั้นยังมีการทำไร่ถั่วลิสง ปลูกกล้วยชนิดต่างๆ และมีการทำสวนผลไม้ เช่น สวนทุเรียน สวนมังคุด สวนเงาะ เป็นอาชีพเสริม 2. ข้อมูลการตรวจสารเคมีในเลือดของเกษตรกรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาย่า ทั้งหมด 261 คน ไม่พบสารเคมีร้อยละ 9.58 พบสารเคมีในระดับปลอดภัยร้อยละ 17.62 พบสารเคมีในระดับเสี่ยงร้อยละ 36.78 และพบสารเคมีในระดับไม่ปลอดภัย ร้อยละ 36.02 ภาวะเสี่ยงของสารเคมีในเลือด จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 36.78 และผิดปกติจำนวน 94 คนคิดเป็นร้อยละ 36.02 3. ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการซื้อพืชผักผลไม้จากตลาดและรถพ่วง ต่อสัปดาห์ จำนวน 450 บาท ร้อยละ 70 ของพืชผักที่บริโภคเป็นพืชผักสวนครัวและพืชผักพื้นบ้านที่สามารถซื้อได้ในตลาด รถพ่วง และที่เก็บหาได้ไม่ต้องซื้อ 4.ตำบลเขาย่าศักยภาพในการผลิตพืชผักปลอดภัย ทั้งในด้านสภาพพื้นที่ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถยกระดับให้เพิ่มพื้นที่ ชนิด และจำนวนการผลิตเพื่อส่งเสริมการบริโภคผักของคนในตำบลให้เพิ่มขึ้น และยังสามารถเป็นแหล่งผลิตเพื่อนำสู่ตลาดส่งเสริมให้ผู้บริโภคของคนนอกพื้นที่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนอีกส่วนหนึ่งด้วย เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ Phathalung Green City และยุทศาสตร์อาหารปลอดภัยของจังหวัดพัทลุง นโยบายส่งเสริมการการบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดภัยเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ 400กรัม/คน/วัน และส่งเสริมเศรษฐกิจครัวเรือนตามนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกและผลิตพืชผักผลไม้ปลอดภัยให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นเพียงพอ ลดการซื้อเพิ่มการขายกระจายสู่ผู้บริโภค เพื่อสนับสนุนการบริโภคพืชผักผลไม่ปลอดภัยตามเกณฑ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน เพิ่มขึ้น

20.00 40.00
2 เพื่อลด ประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

54.46 50.00
3 เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้นเป็น

30.00 50.00
4 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย ลดลงเหลือ

72.80 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,260.00 5 45,200.00
9 มี.ค. 64 กิจกรรมเพื่อให้เกิดกลไกในการขับเคลื่อนงานและจัดการความรู้ 0 500.00 500.00
19 - 25 มี.ค. 64 กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด 0 13,400.00 13,400.00
9 - 16 เม.ย. 64 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกและบริโภคปลอดภัย/การเพาะพันธ์กล้าผัก/การสำรวจข้อมูลสถานการณ์ในพื้นท่ี่ 0 5,000.00 5,000.00
26 - 30 เม.ย. 64 เรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยหมัก /ปุ๋ยน้หมัก และการปลูกพืชผักปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP ส่งเสริมการปลูก 0 12,000.00 7,300.00
1 - 30 ก.ค. 64 ตลาดนัดแลกเปลี่ยนผักปลอดภัยชุมชน และประกวดครัวเรือนต้นแบบปลูกและบริโภคผักปลอดภัย 0 19,360.00 19,000.00

1.กิจกรรมเพื่อให้เกิดกลไกในการขับเคลื่อนงานและจัดการความรู้ 2.กิจกรรมการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด 3.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกและบริโภคปลอดภัย/การเพาะพันธุ์กล้าผัก/การสำรวจข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่ 4.เรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยน้ำหมักและการปลูกพืชผักปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP ส่งเสริมการปลูก 5.ตลาดนัดแลกเปลี่ยนผักปลอดภัยชุมชนและประกวดครัวเรือนต้นแบบปลูกและบริโภคผักปลอดภัย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2563 10:31 น.