กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อควบคุมและป้องกันโรคเรื้้อรัง
รหัสโครงการ 60-L5192-2-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่่4 บ้านแม่ที
วันที่อนุมัติ 6 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 เมษายน 2560 - 4 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 39,575.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซาลีขอ สาเม๊าะ ประธาน อสม.บ้านแม่ที
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของอำเภอเทพาและมี แนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี จากการสรุปรายงานสถานการณ์โรคเรื้อรังของคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว และชุมชน ศูนย์ 3 โรงพยาบาลเทพา ปี2557, 2558 และ 2559 พบผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อย ละ 0.81, 1.29 และ1.26 ตามลำดับ โดยพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่คิดเป็นร้อยละ 3.01, 4.86 และ 5.78ตามลำดับ ปัจจัยหลักพบว่าวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ประชาชนขาดการดูแลสุขภาพของตนเองมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม บริโภคอาหารที่มีไขมันสูง อาหารรสเค็มจัด หวานจัด บริโภคผักและผลไม้น้อยตลอดจนขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลทำให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในต่อมา จากผลการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ ๒๕๕9ประชากรที่มีอายุมากกว่า 3๕ ปีขึ้นไปที่คัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 2,648คน พบประชากรกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวานจำนวน487 คน คิดเป็นร้อยละ 18.59 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีความเสี่ยงสูงจำนวน33 คน คิดเป็นร้อยละ 1.26 และจากข้อมูลโรคเรื้อรังปี พ.ศ. 2559 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 167 คน มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 54.74 และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 456 คน คน มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 7.24
การดำเนินงาน ชุมชนลดเสี่ยงลดโรค คือการที่ชุมชนเห็นปัญหา สามารถวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของคนในชุมชน นำไปสู่การวางแผนและจัดกิจกรรมต่างๆ ในการที่จะลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ลง อันจะนำไปสู่การป้องกันการเกิดโรครายใหม่ในระยะยาว เพื่อลดปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์3จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อควบคุมและป้องกันโรคเรื้อรัง เพื่อมุ่งหวังให้คนในชุมชน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความรู้และมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงได้รับการกระตุ้น ส่งเสริม และสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคจนสามารถดูแลตนเอง คนในครอบครัวและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ประชาชน.อายุ35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองHT/DM มากว่าร้อยละ 90

2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยเบาหวานความดันได้เข้ากระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2ส. ร้อยละ50 มีพฤติกรรมทีดีขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

3 ข้อที่ 3 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และเกิดบุคคลต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

สถานบริการมีการดำเนินงานชุมชนต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างน้อย 1 ชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชน - รวบรวมข้อมูลรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย จากข้อมูลประชากร ปี 2559 - ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ เพื่อมารับบริการ ตามวันเวลา และสถานที่ ที่กำหนดกลุ่มผู้รับบริการ และเตรียมอุปกรณ์ในการคัดกรอง - เจ้าหน้าที่ออกพื้นที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดำเนินการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน - ให้ความรู้/สนับสนุนแผ่นพับ เรื่องโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูง - วิเคราะห์ข้อมูล จากการคัดกรองและจำแนกออกเป็นกลุ่มปกติ และกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย
- ส่งต่อผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นกลุ่มป่วยเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์โรงพยาบาลเทพา - ติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยและเยี่ยมบ้านเพื่อการดูแลต่อเนื่อง กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มป่วย
- จัดทำกลุ่ม1เดือน ครั้งๆละ 10 คน - สร้างแกนนำในชุมชนให้คำแนะนำประชาชนในชุมชนเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน / ความดันโลหิตสูง -คืนข้อมูลสุขภาพโดย ประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบโครงการและจัดทำแผนโดยใช้กระบวนการ VHS
-.จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโดยให้ความรู้แก่ประชาชน การดูแลสุขภาพของตนเองมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม - การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานหมู่บ้านลดเสี่ยงลดโรค
-ติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยและเยี่ยมบ้านเพื่อการดูแลต่อเนื่อง10 คน - ประกวดบุคคลและหมู่บ้านต้นแบบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ประชาการกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2. เกิดบุคคลต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2560 13:55 น.