กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ หมู่ที่9
รหัสโครงการ 64-L3013-02-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มัสยิดนูรุดดีนบ้านแหลมนก หมู่ที่9
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มีนาคม 2564 - 26 พฤษภาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 26 มิถุนายน 2564
งบประมาณ 17,280.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเชิดศักดิ์ ดุรามัน
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 มี.ค. 2564 26 พ.ค. 2564 17,280.00
รวมงบประมาณ 17,280.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มุสลิมจะมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับมัสยิดจนกระทั่งช่วงสุดท้ายของชีวิต บทบาทของมัสยิดนอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจตามที่คนทั่วไปเข้าใจแล้ว มัสยิดยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมของชุมชน เป็นศาลสถิตยุติธรรมเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยคดีความชั้นต้นในชุมชน ตลอดจนเป็นสถานที่ประชุมปรึกษาปัญหาและทางออกในเรื่องราวด้านต่างๆ ของชุมชนบทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่งของมัสยิด คือการบริการการศึกษาแก่สมาชิกในชุมชนทั้งระดับพื้นฐานและวิทยาการอิสลามขั้นสูง และการจัดการเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ทัศนะอิสลาม ที่เป็นประโยชน์ให้กับส่วนบุคคล ครอบครัว และการพัฒนาสังคม มัสยิดจึงเป็นสถานที่ส่งเสริมสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณของประชาชนในชุมชนดังนั้นมัสยิดจึงต้องมีสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะเนื่องจากเป็นสถานที่รวมตัวของประชาชน แต่ประชาชนผู้มาใช้สถานที่ของมัสยิดยังขาดการดูแลรักษาความสะอาดทั้งภายนอกและภายในมัสยิด เช่น การทิ้งเศษขยะ เศษอาหาร ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนโดยรวม จากปัญหาดังกล่าว คณะกรรมการประจำมัสยิด จึงจัดทำโครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ หมู่ที่9 ขึ้น เพื่ออบรมให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาสุขวิทยาส่วนบุคคล การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างถูกสุขลักษณะและการดูแลและป้องกันตนเองในสถานการณ์โรคระบาด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้นำศาสนา และประชาชนทั่วไปเข้าใจหลักศาสนากับการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

ร้อยละ 80 ของประชาชนนำหลักศาสนามาปรับใช้กับการปรับปรุงสภาพแวดล้อม รักษาความสะอาดภายในมัสยิดเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมให้ผู้นำศาสนา และประชาชนทั่วไปเข้าใจหลักศาสนากับการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

13 มี.ค. 64 - 13 พ.ค. 64 ประชุมบริหารจัดการโครงการ 0.00 2,000.00 -
14 มี.ค. 64 - 25 พ.ค. 64 สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี 0.00 15,280.00 -
11 มี.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1 20.00 500.00 -
14 มี.ค. 64 - 25 พ.ค. 64 ปรับปรุงภูมิทัศน์ สภาพแวดล้อมและการรักษาความสะอาดของมัสยิด 60.00 1,500.00 -
14 มี.ค. 64 - 25 พ.ค. 64 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ และเด็กตั้งครรภ์ 60.00 13,780.00 -
31 มี.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2 20.00 500.00 -
22 เม.ย. 64 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3 20.00 500.00 -
28 พ.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4 20.00 500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มัสยิดเป็นแหล่งที่มีการสร้างสุขภาวะที่ดี

2.ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกมัสยิดให้ถูกสุขลักษณะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2563 16:21 น.