กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการบริหารจัดการขยะ ชุมชนบ้านบ่อนเมา
รหัสโครงการ 020412560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนบ้านบ่อนเมา
วันที่อนุมัติ 13 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภิญโญนวลละออง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 เห็นชอบแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทางประชารัฐ ระยะ 1 ปี 2559-2560 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย กำกับดูแลงานให้จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยตามแผนปฏิบัติการฯ 3 ระยะ ได้แก่ (1) ระยะต้นทาง คือการลดปริมาณขยะมูลฝอยและมีการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ครัวเรือน สถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ และสถานประกอบการ (2) ระยะกลางทาง คือ การเก็บและขนที่มีประสิทธิภาพ และ(3) ระยะปลายทาง คือการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการมีประสิทธิภาพ และเกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมุ่งดำเนินการใน 2 ระยะแรก บนพื้นฐานแนวคิด 3R เพื่อลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยและขยะอันตรายโดยส่งเสริมให้เกิดกลไกการคัดแยกและนำขยะมูลฝอยและขยะอันตรายกลับมาใช้ประโยชน์ และเพื่อเพิ่มมูลค่าที่ระยะต้นทาง และระยะกลางทาง คือการจัดทำระบบเก็บและขนที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอและสอดคล้องกับสถานการณ์ขยะในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การจัดการขยะมูลฝอยในระยะปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำ แนวทางการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการลดและการคัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด และจัดระบบการเก็บและขนขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้หลักการ ๓Rsและหลักการประชารัฐ เพื่อสนับสนุนมติคณะรัฐมนตรีและแนวทางการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ของจังหวัดพัทลุง และเพื่อลดขยะมูลฝอยในชุมชนซึ่งมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จนเป็นภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆที่เกิดจากมลภาวะและสิ่งแวดล้อม ชุมชนบ้านนางลาดจึงขอเสนอโครงการการบริหารจัดการขยะ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองพัทลุง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ในเรื่องการบริหารจัดการขยะตามหลักการ ๓Rsให้ประชาชนในชุมชนทราบ ข้อที่ 2 (2) เพื่อสร้างจิตสำนึกและให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะให้ครบวงจรและถูกวิธี ข้อที่ 3เพื่อสร้างวินัยให้แก่ประชาชนในชุมชน ในการมีส่วนร่วมลดและคัดแยกขยะต้นทาง ตามหลักการ๓Rs ข้อที่ 4 เพื่อฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนร่วมกัน ข้อที่ 5 เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน โดยการนำขยะมูลฝอยมาเพิ่มมูลค่า เช่น การทำสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ การทำปุ๋ยหมัก การทำปุ๋ยชีวภาพ การปลูกผัก การเลี้ยงไส้เดือนฯลฯ ข้อที่ 6 เพื่อลดภาวะโลกร้อนที่เกิดจากขยะมูลฝอยที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จนเป็นภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆที่เกิดจากมลภาวะและสิ่งแวดล้อม ข้อที่ 7 เพื่อปรับภูมิทัศน์ในชุมชนให้เป็นชุมชนน่าอยู่น่าอาศัยและเป็นชุมชนเข้มแข็งต่อไป

(๑) ประชาชนในชุมชนอย่างน้อย 70 % ได้รับรู้ว่าชุมชนจะดำเนินการเรื่องการบริหารจัดการขยะตามหลักการ ๓Rs (1)ประชาชนในชุมชน อย่างน้อย 80 % มีจิตสำนึกและมีความรู้ในเรื่องการบริหารจัดการขยะให้ครบวงจรและถูกวิธี (1) ประชาชนในชุมชนอย่างน้อย 80 % มีวินัยในการมีส่วนร่วมลดและคัดแยกขยะต้นทาง ตามหลักการ๓Rs (4)ประชาชนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนร่วมกันอย่างน้อย 80 % (5) ประชาชนในชุมชน อย่างน้อย 60 % มีรายได้เพิ่มมากขึ้นและมีรายจ่ายลดลง โดยการนำขยะมูลฝอยมาเพิ่มมูลค่า เช่น การทำสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้การทำปุ๋ยหมัก การทำปุ๋ยชีวภาพ การปลูกผัก การเลี้ยงไส้เดือนฯลฯ (6) สภาวะโลกร้อนลดลง ทำให้ประชาชนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากมลภาวะและสิ่งแวดล้อม อย่างน้อย 80 % (7) ชุมชนมีภูมิทัศน์ที่น่าอยู่น่าอาศัยและเป็นชุมชนเข้มแข็ง อย่างน้อย 80 %

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

(1) ประชุมคณะทำงาน แกนนำในชุมชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการ (2) ประชุมสมาชิกในชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ และจัดทำแผนปฏิบัติการในการขับเคลื่อนโครงการ (3) ประชุมคณะทำงาน แกนนำในชุมชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตราการทางสังคม (4)อบรมสมาชิกในชุมชนเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ สร้างจิตสำนึกและสร้างวินัยให้แก่ประชาชนในชุมชน ในการมีส่วนร่วม ลดและคัดแยกขยะต้นทางตามหลักการ ๓Rs (5) อบรมสมาชิกในชุมชนเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการคัดแยกขยะต้นทางตามหลักการ ๓Rs (6) จัดประกวดครัวเรือนสะอาด (7) จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การรณรงค์และสร้างจิตสำนึกในชุมชน (8) ปรับภูมิทัศน์ในชุมชน โดยการจัดระเบียบป้าย การปรับปรุงถนน ทางเดิน ที่สาธารณะให้สะอาด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(๑) ประชาชนในชุมชน ได้รับรู้ชุมชนจะดำเนินการเรื่องการบริหารจัดการขยะตามหลักการ ๓Rs (2) ประชาชนในชุมชน มีจิตสำนึกและมีความรู้ในเรื่องการบริหารจัดการขยะให้ครบวงจรและถูกวิธี (3) ประชาชนในชุมชนมีวินัยในการมีส่วนร่วมลดและคัดแยกขยะต้นทาง ตามหลักการ๓Rs (4)ประชาชนในชุมชนได้รับการฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนร่วมกัน (5) ประชาชนในชุมชน มีวิธี/ช่องทางในการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย (5) ประชาชนในชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นและมีรายจ่ายลดลง โดยการนำขยะมูลฝอยมาเพิ่มมูลค่า เช่น การทำสิ่งประดิษฐ์ จากวัสดุเหลือใช้ การทำปุ๋ยหมัก การทำปุ๋ยชีวภาพ การปลูกผัก การเลี้ยงไส้เดือนฯลฯ (6) สภาวะโลกร้อนลดลง ทำให้ประชาชนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากมลภาวะและสิ่งแวดล้อม (7) ชุมชนมีภูมิทัศน์ที่น่าอยู่น่าอาศัยและเป็นชุมชนเข้มแข็งต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2560 09:31 น.