กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ป้องกันและการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L4141-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ลำใหม่
วันที่อนุมัติ 27 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสูไวบ๊ะ บือราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.583,101.205place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6190 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“โรคไข้เลือดออก” เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานาน และในแต่ละปีจากอัตราการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ “โรคไข้เลือดออก” เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค “ยุงลาย” จะมีนิสัยชอบออกหากินในเวลากลางวันและจะเพาะพันธุ์ตามแหล่งเพาะพันธ์ในธรรมชาติ และแหล่งเพาะพันธุ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น โพรงไม้ โพรงหิน กระบอกไม้ไผ่ ยางรถยนต์ รางน้ำฝนที่อุดตัน ถ้วยรองน้ำยางพาราที่ไม่ใช้แล้ว ดังนั้นการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในปีงบประมาณ 2559 จังหวัดยะลา มีผู้ป่วยไข้เลือดออกมากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศไทย และอำเภอเมืองเป็นอำเภอที่มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด และมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในเขตพื้นที่ตำบลลำใหม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 14 ราย ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2559 แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต และในปีงบประมาณ 2560 มีผู้ป่วยที่สงสัยเป็นไข้เลือดออก จำนวน 54 ราย ผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคไข้เลือดออกจากโรงพยาบาลพยาบาลยะลา จำนวน 2 ราย แต่ไม่มีจำนวนผู้เสียชีวิต ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ ในการสอบสวนและควบคุม พร้อมทั้งการให้คำแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรคไข้เลือดออก เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ ได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ เพื่อจัดโครงการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกในตำบลลำใหม่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 314 89,100.00 2 27,701.25
25 พ.ย. 63 พ่นหมอกควัน ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก และในกรณีเกิดการระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 284 80,000.00 19,201.25
22 - 30 มิ.ย. 64 รณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก 30 9,100.00 8,500.00

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ลำใหม่ จัดทำบริการสาธารณะโดยดำเนินการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย โดย รพ.สต.ลำใหม่ เป็นผู้ประสานแจ้งข้อมูลรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นในชุมชน หลังจากได้รับแจ้งจาก รพ.สต.ลำใหม่ กองสาธารณสุขฯ จะออกดำเนินการพ่นหมอกควัน หรือพ่นละอองฝอย ดำเนินการทันที ภายหลังได้รับแจ้งผู้ป่วยเกิดขึ้นในบ้านผู้ป่วยและทุกหลังคาเรือนใกล้เคียงอย่างน้อย 100 เมตร และพ่น 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกหลังคาเรือนภายในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วยและใส่ทรายอะเบท และดำเนินการพ่นหมอกควัน ให้กับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ตำบลลำใหม่ ก่อนที่จะเปิดภาคเรียน โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ รพ.สต.ลำใหม่ อสม.ในพื้นที่ แกนนำสุขภาพในหมู่บ้าน ผู้นำหมู่บ้าน ในการออกรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนที่มีอัตราป่วย และสงสัยป่วยจากโรคไข้เลือดออกลดลง ไม่มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก
  2. ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงที
  3. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
  4. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 23:49 น.