กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L5162-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์
วันที่อนุมัติ 9 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 46,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฐิตาภา โนภาส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2935 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา

อำเภอกระแสสินธุ์ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนในปี 2557-2559 เท่ากับ 64.91, 84.50 และ 352.56 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับมีผู้ป่วยตาย 1 ราย อัตราป่วยต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 6.41 จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนโรงเรียนเทศบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัดโรงเรียนและชุมชน ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

1.ค่าดัชนีลูกน้ำไม่เกินเกณฑ์ (HI

2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

1.อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 16 ของ ค่ามัธยฐาน

3 เพื่อสร้างความเข้มแข็งของทีมเคลื่อนที่เร็ว SRRT (SURVEILLANCE AND RAPID RESPONSE TEAM)
  1. ตำบลสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ ร้อยละ 70
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. จัดประชุมและอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก
    -จัดประชุมและอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ ครูอสม.ผู้นำชุมชนประชาชนทั่วไป -ให้สุขศึกษา โดยการแจกแผ่นพับโรคไข้เลือดออก และทรายกำจัดลูกน้ำ
  2. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์พร้อมทำลายลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนผนึกกำลังเยาวชนด้านภัยไข้เลือดออก

- ประสานกับครูเพื่อให้นักเรียนสำรวจบ้านของนักเรียน -พ่นหมอกควัน ในอาคารเรียน ห้องเรียน2ครั้งห่างกัน1สัปดาห์ ปีละ 2 ครั้ง 3.สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในเขตพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุข
-ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนทั่วไป -ให้สุขศึกษา โดยการแจกแผ่นพับโรคไข้เลือดออก และทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย -รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกวันศุกร์ และสำรวจบ้านทุกหมู่บ้านทุกครัวเรือนโดย อสม.
4.รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลายโดยวิธี 4.1 ทางกายภาพรณรงค์ให้ชุมชนร่วมโรงเรียน ร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน 4.2 ใช้สารเคมีใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียนโดยอสม.และ พ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย 4.3 ทางชีวภาพสนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุงเช่นตะไคร้หอมไล่ยุงการเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง 5.ติดตาม ประเมินผล 6.จัดประชุมทีมเคลื่อนที่เร็ว SRRT ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข สื่อมวลชน ครูอนามัยโรงเรียน เพื่อสร้าง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดอัตราป่วย/ป่วยตายจากโรคไข้เลือดออก
2.ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีความรู้ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
3.ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีส่วนร่วมและรณรงค์ในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
4.การสำรวจค่า HI CI ในพื้นที่มีจำนวนลดลง
5.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 คนต่อแสนประชากร
6.ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก
7.การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2560 13:19 น.