กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากนมลูก
รหัสโครงการ 64-L8277-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคอกช้าง
วันที่อนุมัติ 2 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุวรรณี นวลเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานกระทรวงสาธารณสุข พบว่าโรคมะเร็งทุกชนิดเป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆ และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จากสถิติ พอว่าสาเหตุการป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมมีอัตรา 28.26 พบมากในสตรีอายุ 35 – 60 ปี รองลงมาคือมะเร็งปากนดลูก ซึ่งประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45 – 50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 60,000 คน ทั่วประเทศ แต่อัตราการอยู่รอด 5 ปี วิธีป้องกันที่สำคัญที่สุด ของมะเร็งทั้ง 2 ชนิด คือ การค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ จะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรกเพื่อรับการรักษาก่อนจะลุกลาม และการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด จากผลการศึกษาของ Interational Agency for Research on Cancer (LARC/WHO) พบว่าถ้าทำ Pap Smear 1 ครั้งทุกปี หรือ 1 ครั้ง ทุก 2 ปี หรือ 1 ครั้ง ทุก 3 ปี จะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงร้อยละ 91 – 93 ทำ Pap Smear 1 ครั้ง ทุก 5 ปี จะลดลงร้อยละ 84 (โดยทำ screen ในผู้หญิง อายุ 35 – 64 ปี) ดังนั้นการให้ความรู้ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง การฝึกทักษะในการสังเกต การสร้างความตระหนักแก่ประชาชนกลุ่มสตรี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลป้องกันตนเอง การตรวจคัดกรองค้นหาความผิดปกติในระยะแรก ทำให้สามารถได้รับการดูแลรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ลดอัตราการป่วย และลดอัตราตายจากโรคมะเร็งเต้านมได้จากการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคอกช้าง ปี2562 กลุ่มสตรี อายุ 30 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมูก จำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 33.62 ซึ่งได้ตามเกณฑ์ตัวชี้วัด และกลุ่มสตรีอายุ 30 – 70 ปี ได้คัดกรองโรคมะเร็งเต้านม จำนวน 732 คน คิดเป็นร้อยละ 97% การให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก จะส่งผลทำให้อัตราป่วยและอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมลดลง แต่ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดจะต้องให้ได้รับการคัดกรองทุกคนในกลุ่มเป้าหมาย 30 – 60 ปี ภายในระยะเวลา 5 ปี ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคอกช้าง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก

 

0.00
2 2. เพื่อให้สตรีอายุ 30–70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก

 

0.00
3 3. เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 70 ปี ตรวจเต้านมด้วยตัวเองและผ่านการประเมินทักษะการตรวจ เต้านม จากบุคลากรสาธารณสุข

 

0.00
4 4. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,400.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 จัดอบรมกลุ่มสตรีเป้าหมาย 0 8,750.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 วัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม 0 9,650.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก เพื่อป้องกันและดูแลตนเองได้เบื้องต้น
  2. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก
  3. กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งต่อและรักษาในรายที่ตรวจพบความผิดปกติทุกระยะ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2563 00:00 น.