กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโละปูโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 88 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ปกครองปฏิเสธการรับฉีดวัคซีน เด็กย้ายที่อยู่ ผู้ปกครองพาไปประกอบอาชีพต่างถิ่น เด็กอาศัยอยู่ญาติเช่นปู่ ย่า ตา ยาย ไม่สะดวกในการเดินทางมารับวัคซีนที่รพ.สต. ไปอยู่กับพ่อแม่ต่างประเทศ เคยฉีดแล้วมีประวัติเป็นไข้
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขตระหนักดีว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศมาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานกว่า 30 ปี แล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญ คือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นให้ครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุมประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย และให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าด้วยเหตุนี้เด็ก ๆ แทบทุกคนล้วนได้รับวัคซีนกันถ้วนหน้า ส่งผลให้โรคติดต่อร้ายแรงชนิดต่าง ๆ เช่น โปลิโอ, คอตีบ, ไอกรน, วัณโรค, ลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนสูงตั้งแต่ก่อนมีเหตุการณ์ความไม่สงบนั้น จากการสอบสวนการระบาดของโรคหัด ในพ.ศ.2561 พบว่าความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนเท่ากับ ร้อยละ ๘๗ และที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อการจัดบริการสุขภาพในระบบสาธารณสุขอย่างรุนแรง ทั้งนี้การสำรวจความครอบคลุมของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ และต้นปี ๒๕๖๒ พบว่าความครอบคลุมต่ำกว่าเป้าหมายมาก และนำไปสู่การระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคคอตีบ และโรคหัด อย่างกว้างขวาง และมีอุบัติการณ์ของโรคเหล่านี้สูงที่สุดในประเทศ พื้นที่ที่มีการระบาดส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่สีแดง และความครอบคลุมของวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ อยู่ในอัตราค่อนข้างต่ำ จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของรพ.สต.ปุโละปุโยใน ปี 2563 พบว่าเด็กอายุ 0-5 ปี ทั้งหมด 346 คน ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ จำนวน 243 คน ร้อยละ 70.23 นอกจากนี้ยังมีเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนเลย หรือบางรายรับวัคซีนเพียง 1-2 เข็มเท่านั้น จำนวน 103 คน ร้อยละ 29.77 สาเหตุเนื่องจากผู้ปกครองปฏิเสธการรับฉีดวัคซีน เด็กย้ายที่อยู่ ผู้ปกครองพาไปประกอบอาชีพต่างถิ่น เด็กอาศัยอยู่ญาติเช่นปู่ ย่า ตา ยาย ไม่สะดวกในการเดินทางมารับวัคซีนที่รพ.สต. ไปอยู่กับพ่อแม่ต่างประเทศ เคยฉีดแล้วมีประวัติเป็นไข้ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทางรพ.สตปุโละปุโยจึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เพื่อป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อให้เด็กอายุ0-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก0-5ปีได้รับความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

1.ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 0-5 ปี ร้อยละ 95 2. ไม่มีอัตราป่วยและตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
3. ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ร้อยละ 60

90.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 1. ประชุมเตรียมความพร้อมทีมครือข่ายตำบลปุโละปุโยและประชุมถอดบทเรียนการเยี่ยมบ้าน 0 20,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

รพ.สต.ปุโละปุโยมีระบบการติดตามการรับวัคซีนของเด็กอายุ 0-5 ปี อย่างมีคุณภาพ ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีน และตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ส่งผลให้เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และไม่ป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2563 10:59 น.