กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้การปลูกผักพื้นบ้าน ปลอดสารพิษ เพื่อโภชนาการสมวัยของนักเรียน ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5211-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านหาร
วันที่อนุมัติ 17 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2564
งบประมาณ 26,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธัญลักษณ์ บรรจงดัด และนางสาวณัฐกฤตา ขวัญแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.075,100.45place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2563 31 มี.ค. 2564 26,150.00
รวมงบประมาณ 26,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรงเรียนบ้านหาร มีจำนวนนักเรียน 203 คน พบสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาวะเด็กระดับอนุบาลมีนักเรียน 47 คน พบว่ามีภาวะทุพโภชนาการ (ผอม 11 คน ,อ้วน 3 คน ผอมและเตี้ย 1 คน) รวม 15 คน
คิดเป็นร้อยละ 15.95 ระดับประถมศึกษามีนักเรียน 114 คน พบว่ามีภาวะทุพโภชนาการ (ผอม 15 คน,อ้วน 9 คน อ้วนและเตี้ย 1 คน) จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 10.96 และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีนักเรียน 42 คน พบว่ามีภาวะทุพโภชนาการ (ผอม 4 คน ,อ้วน 10 คน อ้วนและเตี้ย 1 คน) จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 17.85 โรงเรียนบ้านหารมีการส่งเสริมการทำโครงการเกษตรในโรงเรียน เช่น การเพาะเห็ดนางฟ้า การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ การปลูกผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงไก่ เพื่อใช้ในการประกอบอาหารในโครงการอาหารกลางวันให้กับนักเรียน ปัจจุบันสามารถจัดสรรผลผลิตที่ได้จากโครงการเกษตรในโรงเรียน ปัจจุบันนักเรียนทั้งหมด 203 คนข้อมูล 10 มิ.ย.63 แต่ยังพบปัญหาผลผลิตที่ได้ยังไม่เพียงพอกับนักเรียน ทางโรงเรียนเล็งเห็นว่าการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนเพื่อลดปัญหาเด็กผอม ค่อนข้างผอม เตี้ยและอ้วน จำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การปลูกผัก การเพาะเห็ดนางฟ้าจะเป็นส่วนที่จะทำให้เด็กเข้าถึงสารอาหารที่มีคุณค่าด้านโภชนาการซึ่งจะช่วยลดปัญหาด้าน สุขภาวะได้วัยเด็กเป็นวัยกำลังเจริญเติบโต การดูแลให้เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่า และเหมาะสมกับวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ดียิ่งขึ้น และในปัจจุบันนี้ผักสดที่ซื้อจากตลาด ไม่ทราบแหล่งที่มา
ไม่แน่ใจว่ามีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน อาจมีสารเคมีตกค้าง เมื่อนำมาประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียนส่งผลให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักเรียน ซึ่งนำไปสู่โรคภัยต่างๆ มากมาย ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนปลูกผักปลอดสารพิษใช้บริโภคในโครงการอาหารกลางวัน ทำให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง ปลอดจากโรคภัยต่างๆ ตลอดจนการสร้างค่านิยมในการบริโภคผักปลอดสารพิษในโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสู่ครอบครัวและชุมชน โรงเรียนบ้านหาร ได้ตระหนักถึงสุขภาพของนักเรียน มีความห่วงใยสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้การปลูกผักพื้นบ้าน ปลอดสารพิษ เพื่อโภชนาการสมวัยของนักเรียน ปีงบประมาณ 2564

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตามหลักโภชนาการ 5 หมู่

 

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ด้านโภชนาการและการบริโภคผักปลอดสารพิษ

 

0.00
3 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและมีภาวะทุพโภชนาการ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 155 26,150.00 3 26,150.00
1 พ.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการ 25 2,450.00 2,450.00
1 พ.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ 65 10,550.00 10,328.00
1 พ.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 65 13,150.00 13,372.00
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 ประชุม สร้างความตระหนักแก่ผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วยครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ร่วมกันวางแผนกำหนดกิจกรรม
    1.2 จัดทำโครงการ และเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
  2. ขั้นดำเนินการ
    2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการและรายละเอียดของกิจกรรมตามโครงการให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ 2.2 จัดทำปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ 2.3 ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงานและกำหนดกิจกรรม
    2.4 ดำเนินงานตามโครงการฯ โดยจัดกิจกรรม ดังนี้     1) กิจกรรมประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการ   - ครูและบุคลากร จำนวน 12 คน   - กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 คน   - ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 5 คน   - นักเรียน จำนวน 5 คน 2) กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ   - ครูและบุคลากร จำนวน 15 คน นักเรียนจำนวน 50 คน รวม 65 คน       - ฐานการเรียนรู้ จำนวน 4 ฐาน ได้แก่ ฐานการเรียนรู้การอนุรักษ์ผักพื้นบ้านและสมุนไพร, ฐานการเรียนรู้พืชผักอายุสั้น, ฐานการเรียนรู้ผักประเภทเถาวัลย์ และฐานการเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า     3) กิจกรรมอบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ       - ครูและบุคลากร จำนวน 15 คน นักเรียนจำนวน 50 คน รวม 65 คน
  3. ขั้นตรวจสอบ 3.1 นิเทศ กำกับ ติดตาม เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการดำเนินโครงการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
    3.2 ประเมินการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
  4. ขั้นปรับปรุงแก้ไข
    4.1 ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานวิเคราะห์รายงานผลการประเมินเพื่อสรุปหาแนวทางการปรับปรุงพัฒนา 4.2 นำเสนอแนวทางการปรับปรุงพัฒนาให้คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตามหลักโภชนาการ 5 หมู่
  2. นักเรียนมีความรู้ด้านโภชนาการและการบริโภคผักปลอดสารพิษ
  3. จำนวนนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานลดลง และมีภาวะทุพโภชนาการลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2563 13:32 น.