กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กเชิงรุก เทศบาลนครหาดใหญ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
รหัสโครงการ 64-L7258-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 30 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 15 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 2,269,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกลิ่นผกา ประสิทธิ์นุ้ย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลนครหาดใหญ่ มีภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีและเด็ก ตามความ ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552 มาตรา 50 (7) มาตรา 53 (1) มาตรา 56 (1) เทศบาลมีหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการและพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ใหเทศบาล เมืองพัทยาและองคการบริหาร สวนตําบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชนของประชาชนในทองถิ่นของตนเอง (10) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส     เด็กคือทรัพยากรอันทรงคุณค่ามีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการดูแลจากครอบครัวและสังคมตลอด จนได้รับบริการจากภาครัฐอย่างเหมาะสมทุกด้านเพื่อการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ เด็กที่มีคุณภาพจะต้องมีพัฒนาการสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม การพัฒนาเด็กให้มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ทุกด้านจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งต้องเริ่มดูแลตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะหลังคลอดและระยะเด็กปฐมวัย แต่ในปัจจุบันแม่และเด็กหาดใหญ่ยังประสบกับปัญหาทางด้านสุขภาพในหลายประเด็น ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของแม่และเด็ก ได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการ การขาดธาตุไอโอดีน ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และปัจจัยด้านอื่น ๆ เช่น ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ภาวะโรคต่าง ๆ และการอบรมเลี้ยงดูเด็ก     เทศบาลหาดใหญ่ ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กเชิงรุก เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานปี พ.ศ. 2555 - 2562 เกิดผลสัมฤทธิ์ทำให้สถานการณ์อนามัยแม่และเด็กมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 1. อัตราฝากครรภ์ครั้งแรก ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 60.71 , 62.72 , 63.39 , 64.77 , 66.87 , 69.27 ,71.35 และ 71.81 ตามลำดับ (เกณฑ์ > ร้อยละ 60) 2. อัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ (เจาะเลือดครั้งแรก) คิดเป็นร้อยละ 18.49 , 16.96 , 12.25 , 14.09 , 17.62 , 24.21 , 20.31 และ 21.58 ตามลำดับ (เกณฑ์ < ร้อยละ 20) 3. หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี  คิดเป็นร้อยละ 13.10 , 11.20 , 11.05 , 10.37 , 10.13 , 11.81 , 10.16 และ 10.93 ตามลำดับ (เกณฑ์ < ร้อยละ 10) 4. อัตราฝากครรภ์ ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 82.22 , 86.05 , 89.67 , 91.97 , 93.87 , 91.80 , 85.11 และ 86.02 ตามลำดับ (เกณฑ์ >ร้อยละ 60) 5. ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 6.93 , 6.68 , 6.29 , 6.12 , 10.13 , 7.89 , 7.21 และ 6.76 ตามลำดับ (เกณฑ์ < ร้อยละ 7)     จากผลการดำเนินโครงการ จะเห็นว่าตัวชี้วัดสถานะสุขภาพของแม่และเด็กมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยเน้นการสร้างเสริมโภชนาการที่ดีและการดูแลสุขภาพเชิงรุกในชุมชนร่วมกับการพัฒนาคุณภาพบริการในทุกด้าน ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ สำนักการสาธารณสุข  และสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กเชิงรุก ขึ้น เพื่อพัฒนาสุขภาพของแม่และเด็ก ลดอันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอด แม่และเด็กมีสุขภาพแข็งแรง มีภาวะโภชนาการ ที่ดี ได้รับบริการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ครบวงจรตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด อันส่งผลให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีพัฒนาการสมวัยและเติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารก หลังคลอดและเด็กปฐมวัย โดยให้การดูแลแบบบูรณาการตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ 2. เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมของ หญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอด และเด็กปฐมวัย 3. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและสามารถดูแลตนเองและเลี้ยงดูบุตรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 4. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ ครอบครัวและสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพแม่และเด็กและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็ก แรกเกิด – 1 ปี จำนวน 390 คน
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5ครั้งตามเกณฑ์  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  3. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด (Hct 1 ) ไม่เกินร้อยละ 20
  4. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดในขณะใกล้คลอด (Hct 2)ไม่เกินร้อยละ 10
  5. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7
  6. หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65
  7. เด็กแรกเกิด – ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
  8. เด็กแรกเกิด – 1 ปี มีน้ำหนักตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  9. เด็ก 9 18 30 และ 42 เดือน ได้รับการตรวจ  คัดกรองพัฒนาการ  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
  10. เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่า  ร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารก หลังคลอดและเด็กปฐมวัย โดยให้การดูแลแบบบูรณาการตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ 2. เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมของ หญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอด และเด็กปฐมวัย 3. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและสามารถดูแลตนเองและเลี้ยงดูบุตรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 4. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ ครอบครัวและสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพแม่และเด็กและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็ก แรกเกิด – 1 ปี จำนวน 390 คน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

27 พ.ย. 63 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนพฤศจิกายน 63 311.00 160,512.00 -
27 พ.ย. 63 กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (โรงเรียนพ่อแม่) ประจำเดือน พฤศจิกายน 63 32.00 2,300.00 -
25 ธ.ค. 63 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนธันวาคม 2563 319.00 163,218.00 -
25 ธ.ค. 63 กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (โรงเรียนพ่อแม่) ประจำเดือธันวาคม 2563 30.00 2,250.00 -
29 ม.ค. 64 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนมกราคม 2564 325.00 167,855.00 -
29 ม.ค. 64 กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (โรงเรียนพ่อแม่) ประจำเดือนมกราคม 2564 25.00 2,125.00 -
25 ก.พ. 64 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564 306.00 153,017.00 -
25 ก.พ. 64 กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (โรงเรียนพ่อแม่) ประจำเดือนกุมภาพพันธ์ 2564 25.00 2,125.00 -
26 มี.ค. 64 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนมีนาคม 2564 305.00 158,706.00 -
26 มี.ค. 64 กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (โรงเรียนพ่อแม่) ประจำเดือนมีนาคม 2564 25.00 2,125.00 -
26 มี.ค. 64 กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแก่ผู้เข้าร่วมโครงการรายใหม่ 390.00 11,000.00 -
23 เม.ย. 64 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนเมษายน 2564 286.00 147,623.00 -
28 พ.ค. 64 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนพฤษภาคม 2564 313.00 161,412.00 -
25 มิ.ย. 64 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนมิถุนายน 2564 303.00 154,975.00 -
23 ก.ค. 64 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนกรกฎาคม 2564 299.00 153,324.00 -
27 ส.ค. 64 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนสิงหาคม 2564 300.00 151,688.00 -
9 ก.ย. 64 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายอาหารส่งเสริมสุขภาพนมและไข่) ประจำเดือนกันยายน 2564 261.00 130,115.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา
  2. นำเสนอข้อมูลต่อคณะทำงาน เพื่อพิจารณาจัดทำโครงการต่อเนื่อง
  3. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุน สปสช. เทศบาลนครหาดใหญ่
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
  5. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้     5.1 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก (จ่ายนม-ไข่) เพื่อส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสม สร้างแรงจูงใจ ให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์เร็วและเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน โดย     5.1.1 รับลงทะเบียนหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ทุกวันที่ 1 - 10 ของทุกเดือน ตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้เข้าร่วมโครงการ จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวผู้เข้าร่วมโครงการสำหรับบันทึกสุขภาพและการเยี่ยมบ้าน พร้อมทั้งระบุรายชื่อ อสม. แม่อนามัยแม่และเด็ก ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ทราบ เพื่อความสะดวกและแจ้งนโยบายการติดตามดูแลสุขภาพเชิงรุก     5.1.2 รวบรวมรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ จัดทำฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ด้วยโปรแกรมฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Microsoft Access) ประมวลผลข้อมูล จัดทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ ทะเบียนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงและทะเบียนรับวัสดุนม-ไข่     5.1.3 ส่งต่อรายชื่อหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ให้ศูนย์บริการสาธารณสุข และ อสม.ในพื้นที่ทราบ     5.1.4 จ่าย นม - ไข่ เดือนละ 1 ครั้ง ณ หอประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่ ตามวันที่และเวลาที่กำหนดโดย       - กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และกลุ่มมารดาหลังคลอด จ่ายนมสเตอริไลส์ จำนวน 30 กระป๋องต่อเดือน และจ่ายไข่ไก่ เบอร์ 2 จำนวน 30 ฟองต่อเดือน       - กลุ่มเด็ก 6 เดือน - 1 ปี จ่ายนมผง ช่วงวัยที่ 2 (เด็ก 6 เดือน - 3 ปี) ขนาด 600 กรัมต่อกล่อง จำนวน 2 กล่องต่อเดือน และจ่ายไข่ไก่ เบอร์ 2 จำนวน 30 ฟองต่อเดือน
      5.2 กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแก่ผู้เข้าร่วมโครงการรายใหม่ (โรงเรียนพ่อแม่)       จัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (โรงเรียนพ่อแม่) แก่หญิงตั้งครรภ์และสามี ผู้ดูแลเด็กที่เข้าร่วมโครงการรายใหม่ทุกราย (หญิงตั้งครรภ์และสามีต้องเข้าร่วมอบรม
          ความรู้โรงเรียนพ่อแม่ อย่างน้อย 1 ครั้ง)
      5.3 กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ในชุมชน (ให้บริการเชิงรุกเยี่ยมบ้านดูแลสุขภาพแม่และเด็ก)       5.3.1 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ปกติ หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงทางสุขภาพเล็กน้อย ติดตามเยี่ยมบ้าน โดยอสม. อนามัยแม่และเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้คำแนะนำ พร้อมทั้งติดตามสำรวจข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง ได้แก่ อยู่ในพื้นที่หรือไม่ หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และเด็กได้บริโภคนม-ไข่ที่จ่ายไปหรือไม่ พร้อมทั้งติดตามโภชนาการ พัฒนาการและการรับวัคซีนตามเกณฑ์ และรายงานผลการเยี่ยมบ้านตามขั้นตอน     5.3.2 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไทรอยด์ หอบหืด ติดสารเสพติด ตั้งครรภ์อายุน้อย ฯ ติดตามเยี่ยมบ้านโดยพยาบาลประจำศูนย์บริการสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ     5.3.3 กลุ่มมารดาและทารกหลังคลอด เยี่ยมโดย อสม. และพยาบาลในการให้คำแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การตรวจหลังคลอด การวางแผนครอบครัวฯ     5.3.4 กลุ่มเด็กปฐมวัย (แรกเกิด-5 ปี) ติดตามเยี่ยมบ้านโดย อสม. เพื่อเฝ้าระวังโภชนาการ เฝ้าระวังและติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน การรับวัคซีน การส่งเสริมพัฒนาการ ส่งเสริมการอ่านการเล่านิทาน และติดตามให้พ่อแม่พาเด็กตรวจคัดกรองพัฒนาการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ช่วงอายุ 9 , 18 , 36 ,42 , 60 เดือน     5.2.5 กิจกรรมเยี่ยมบ้านมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อสร้างกระแสการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสังคม 5.4 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย     5.2.1 จัดกิจกรรมตรวจพัฒนาการและส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยผ่านกระบวนการ “กิน กอด เล่น เล่า” โดยสหวิชาชีพ ได้แก่ พยาบาล นักโภชนาการ ทันตแพทย์ อสม.ฯ เดือนละ 1 ครั้ง ในวันจ่ายนม-ไข่ ณ หอประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่
        5.2.2 จัดกิจกรรม “ธนาคารหนังสือนิทาน” เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยด้วยหนังสือนิทานและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน โดยผู้ปกครองยืมหนังสือนิทานกลับไปอ่านให้ลูกฟังที่บ้าน จัดให้ยืม-คืนหนังสือนิทานเดือนละ 1 ครั้งในวันจ่ายนม-ไข่ 5.5 กิจกรรมจัดอบรมแกนนำอนามัยแม่และเด็ก (อสม. จำนวน 200 คน) เพื่อให้แกนนำอนามัยแม่และเด็ก มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแม่และเด็กและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่และแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง
    1. สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอดและเด็กปฐมวัยมีสุขภาพดี ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีพัฒนาการสมวัยทุกด้าน
  2. หญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอดและเด็กปฐมวัยได้รับการติดตามดูแลสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม.
    3.หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและครอบครัวมีความรู้ มีความตระหนักในการดูแลตนเองและบุตรการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2563 09:51 น.