กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64 -L1515-04 - 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 24 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 76,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.9,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ได้เข้าร่วมดำเนินการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนตำบล) กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวน 45 บาท/ประชากร เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้กับประชาชนในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้ประชาชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในหลายรูปแบบ ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อเป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ในมาตรา 13(3) มาตรา 18(8) มาตรา 47 และมาตรา 48(4) ที่กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน ดำเนินงานและบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความเหมาะสมและความต้องการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ตามข้อ 10(4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่งในแต่ละปีงบประมาณนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้รับเงินเพิ่มตามข้อ 7 วรรคสอง อาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ 5 กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อจัดหาครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงให้สนับสนุนได้ในงวงเงินตามความจำเป็น และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เพื่อให้การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์บริหารส่วนตำบลหนองปรือ ประจำปีงบประมาณ 2564 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ร้อยละ 80 ของคณะกรรมการกองทุนฯเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

0.00
2 2. เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯได้รับการพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ร้อยละ 80 คณะกรรมการกองทุนฯได้รับพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ

0.00
3 3. เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนฯและแกนนำชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกัน นำไปสู่การส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข

ร้อยละ 80 คณะกรรมการกองทุนฯและแกนนำชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกัน นำไปสู่การส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 76,000.00 1 0.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 1. กิจกรรมต่างๆของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ 2. กิจกรรมจัดทำ แผนสุขภาพ โดยภาคีเครือข่ายสุขภาพกลุ่มต่างๆ ประจำปีงบประมาณ 2564 0 76,000.00 0.00
  1. จัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพฯและผู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์สำนักงาน และวัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการกองทุนฯ
  3. การเลี้ยงรับรองในโอกาสต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  4. การสนับสนุนให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และอนุกรรมการฯ เข้าร่วมการประชุมหรือเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการกองทุนฯ
  5. จัดเวทีประชาคม เพื่อจัดทำแผนสุขภาพ โดยภาคีเครือข่ายสุขภาพกลุ่มต่างๆ ร่วมเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข 6.รายงานและสรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือมีประสิทธิภาพ
  2. คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจ ในการบริหารงานของกองทุนฯ
  3. คณะกรรมการกองทุนฯ และแกนนำชุมชนมีความรู้ความเข้าใจสามารถเกิดการประสานงานความร่วมมือของเครือข่ายภาคีภาครัฐ ให้การสนับสนุนและผลักดันให้เกิดกระแสดี ๆ ริเริ่มสร้างสรรค์ทางการดูแลป้องกันเรื่องสุขภาพ
  4. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ
  5. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ดำเนินงานและทิศทางระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2563 10:25 น.