กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างพลังใจ ใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64 – L5306-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลตำมะลัง
วันที่อนุมัติ 10 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 61,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกูมารียำ หลงกูนัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตำมะลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.537855937,100.0531597place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ท่ามกลางสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยทุกระดับ    ทำให้คนไทยต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจและค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด ความขับข้องใจแยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องออกจากงาน      มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลง มีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจคนทุกคนทั้งสิ้น และหากคนเหล่านั้นไม่ได้รับการดูแลใส่ใจจากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้วยิ่งส่งเสริมให้คนในชุมชนมีภาวะซึมเศร้า และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง จนเกิดความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง เป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจ      ที่รุนแรงและอาจส่งผลต่อชีวิตได้ เพราะนับวันปัญหาเหล่านี้ยิ่งเพิ่มมากขึ้นและกำลังกลายเป็นปัญหาสังคมในระดับรุนแรงหากไม่ได้รับการแก้ไขในเบื้องต้นยิ่งในสภาวะสังคมแห่งการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ กลุ่มวัยทำงานเป็นกลุ่มประชากรที่อยู่ในช่วง 15-60 ปี เป็นวัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก เพราะต้องรับผิดชอบครอบครัว ต้องหารายได้ การแบกภาระในการเลี้ยงดูเด็กและผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันก็พบว่ากลุ่มวัยทำงานเป็นกลุ่มที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆรอบด้านไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพของวัยทำงาน เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การเสพสารเสพติด รวมถึงการเจ็บป่วยด้วยโรคเฉียบพลันต่างๆ การเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ ความเครียดจากโรคเรื้อรัง เป็นต้น หากประเทศใดมีประชากรในวัยทำงานสูงและเป็นแรงงานคุณภาพ กล่าวคือเป็นแรงงานที่มีฝีมือ มีการศึกษาและมีสุขภาพดี ก็จะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ    ให้เจริญรุดหน้าได้ ดังนั้นการดูแลคุณภาพชีวิตด้วยการเอาใจใส่ด้านสุขภาพก็เกิดประโยชน์อย่างมากทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และสังคมโดยรวม ซึ่งวัยทำงานเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญมากที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิตคือช่วงวัยของการทำงาน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ต้องอาศัยแรงกายแรงใจในการหาเลี้ยงชีพและครอบครัว เป็นช่วงวัยที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แต่ในการทำงานนั้นก็มักจะพบกับสิ่งคุกคามสุขภาพหลากหลาย แตกต่างกันในแต่ละอาชีพทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัววัยนี้จึงเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพทางจิตใจได้มาก เช่น ภาวะเครียด ภาวะซึมเศร้า ปัญหาครอบครัว หนี้สินหรือปัญหาส่วนตัวอื่นๆ อีกทั้งประชากรวัยทำงานยังเป็นกลุ่มคนที่มีการฆ่าตัวตายสูงที่สุดอีกด้วย ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดในชุมชน จึงควรมีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตในวัยนี้เช่นกัน การดูแลป้องกันและส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป บุคลากรสาธารณสุขจึงเป็นกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ต้องทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจ และใช้ความรู้ความชำนาญเพื่อให้บริการอย่างมีคุณภาพ ท่ามกลางสภาพสังคม ภาวะเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนที่มารรับบริการ การจะให้บริการสาธารณสุขที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันนั้น บุคลากรสาธารณสุขจะทำงานให้ประสบผลสำเร็จได้ นอกจากจะต้องอาศัยความรู้ทางวิชาชีพของแต่ละสายงานแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น การมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี การมีความสุข ความพึงพอใจในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย และสามารถประสานความร่วมมือระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ซึ่งอาสาสมัครอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้านถือเป็นกลุ่มบุคลากรด้านสาธารณสุขที่ทำหน้าที่ดูแลด้านสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิดมากที่สุด และอยู่ในกลุ่มวัยทำงานเช่นเดียวกัน และกลุ่มเหล่านี้ก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านสุขภาพเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไปหรืออาจจะมากกว่า เนื่องด้วยมีภาระหน้าที่ในการดูแลประชาชนในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นภารกิจที่หนักและอาจส่งผลต่อการเกิดความเครียด ความวิตกกังวล และส่งผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆตามมา ดังนั้นกลุ่มเหล่านี้ควรได้รับการดูแล ส่งเสริมป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพทั้งกายและใจเช่นเดียวกัน เพื่อให้มีสุขภาพดี รวมทั้งมีความสุขในการดำเนินชีวิตและมีความพร้อมในการที่จะให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ต่อไป ซึ่งวัยทำงาน ถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคล      ที่มีความสำคัญและเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ ในขณะเดียวกันต้องรับภาระในการรับผิดชอบดูแลตนเองและครอบครัว ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม ทำ ให้เกิด ความเครียด มีปัญหาสุขภาพ ปัญหาครอบครัว สัมพันธภาพเปราะบาง เกิดความขัดแย้งได้ง่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน ตลอดจนทำ ให้มีความสุขลดน้อยลง และจากรายงานเรื่องความสุขโลก ปี 2562 (เครือข่ายทางออกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (เอสดีเอสเอ็น) ในสังกัดองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) พบว่าไทยมีความสุขอันดับ 52 ของโลก มีคะแนน 6.008 คะแนน ลดลงจากปีที่ผ่านมา อยู่อันดับ 46 มีคะแนน 6.072 คะแนน และอันดับของไทยลดติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ซึ่งหากคนไทยมีความสุขสูงขึ้น จะมีผลต่อสุขภาพกาย ประชาชนจะมีภูมคุ้มกันโรคดีขึ้น อัตราการป่วยจากโรคเรื้อรังลดลง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานจะสูงขึ้น สังคมจะเปลี่ยนเป็นสังคมน่าอยู่ ประชาชนยิ้มแย้มเป็นมิตรกัน ดังนั้นการดูแลส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพทั้งทางกายและใจ จึงมีความสำคัญต่อคนทุกกลุ่มวัย ในมิตินี้กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลตำมะลัง ได้ตระหนักถึงประเด็นดังกล่าวและให้ความสำคัญแก่กลุ่มวัยทำงานที่เป็นกลุ่มวัยสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน ชุมชนตลอดจนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ จึงได้จัด “โครงการเสริมสร้างพลังใจ ใส่ใจสุขภาพ” เพื่อให้กลุ่มวัยทำงานได้มีการส่งเสริมการดูแลสุขภาพทั้งทางกาย ทางใจ รวมทั้งได้ร่วมกิจกรรมสันทนาการเพื่อผ่อนคลายความเครียด หรือผ่อนคลายจากปัญหาอื่นๆ ตลอดจนได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเอง ครอบครัว ชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มวัยทำงานเฝ้าระวังภาวะสุขภาพและกระตุ้นให้มีการใส่ใจสุขภาพทั้งทางกายทางใจมากขึ้น

1.แบบประเมินความเครียด (ST5)

50.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อเสริมสร้างพลังใจ เติมพลังชีวิตแก่กลุ่มวัยทำงาน เพื่อให้เห็นคุณค่าของตัวเอง

2.แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q)

50.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่ตัวเอง มีแนวทางในการดูแลและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตในเบื้องต้นได้

3.แบบประเมินความสุขคนไทย (15 ข้อ)

50.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อส่งเสริมกลุ่มวัยทำงานให้มีสุขภาพจิตดี ชีวิมีสุข

4.แบประเมินความพึงพอใจกิจกรรม/โครงการ

40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 61,800.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ กิจกรรมสันทนาการผ่อนคลายความเครียด 40 61,800.00 -
  1. ประชุมเตรียมความพร้อมคณะผู้บริหารสภาเด็กและเยาวชนตำบลตำมะลัง   2. ประชาสัมพันธ์โครงการ   3. ประสานวิทยากรและกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม   4. ดำเนินกิจกรรมอบรมเรื่องความรู้ ความเข้าใจของยาเสพติดและโทษภัยของยาเสพติด   5. ประชุมสรุป/ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มวัยทำงานมีความรู้ ความเข้าใจ มีการเฝ้าระวังและตระหนักถึงปัญหาสุขภาพทั้งทางกายและใจมากขึ้น
  2. กลุ่มวัยทำงานได้รับการเสริมพลังใจ มีความภาคภูมิใจในตนเองและเห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้น
  3. กลุ่มวัยทำงานมีภูมิคุ้มกันและมีความเข้มแข็งทางใจสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตในเบื้องต้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2563 13:28 น.