กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการรณรงค์ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าภายในตำบลอุใดเจริญ (ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าภายในตำบลอุใดเจริญ (ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี)
รหัสโครงการ 60-L5282-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.อุใดเจริญ
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 95,013.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.อุใดเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ ปศุสัตว์อำเภอควนกาหลง
พื้นที่ดำเนินการ อาคารเอนกประสงค์ ตลาดนัดผัง 1 ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.903,99.932place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าภายในตำบลอุใดเจริญเป็นกิจกรรมภายใต้(โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) และได้มีการขยายเวลาดำเนินโครงการความร่วมมือการรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปี ๒๕๖๐ ฯ ระหว่างวันที่ ๑ มีนาคม – ๓๐ เมษายน ๒๕๖๐ ขยายเวลาออกไปจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐ ตามหนังสือจังหวัดสตูล ด่วนที่สุดที่ สต ๐๐๒๓.๓/ว ๒๐๐๒ ลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๐ เรื่อง ขอขยายเวลาโครงการความร่วมมือการรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปี ๒๕๖๐ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ(Hydrophobia) เป็นโรคติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง ที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า สามารถติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ ในประเทศไทยสัตว์พาหะนำโรคที่สำคัญคือสุนัขและแมว(ข้อมูลจาก สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์,๒๕๕๙) โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเรบี่ไวรัส (Rabies virus) ซึ่งเป็นอาร์ เอน เอ ไวรัส (RNA virus)มีการติดต่อจากสัตว์ป่วยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายไปสู่มนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอื่นผ่านทางน้ำลาย โดยผ่านทางการกัด การข่วน และการเลียบริเวณที่มีบาดแผลระยะฟักตัวของโรคพิษสุนัขบ้าเป็นระยะเวลานับตั้งแต่เชื้อโรคไวรัสเข้าสู่ร่างกายจนก่อให้แสดงอาการของโรคโดยสามารถพบได้นานถึง 6 เดือน ซึ่งจะต่างกันไปตามชนิดสัตว์ สำหรับระยะฟักตัวของโรคพิษสุนัขบ้าในคน จะใช้เวลาประมาณ2-8สัปดาห์ หรืออาจจะสั้นเพียง 5 วัน แต่ในบางรายอาจยาวนานเป็นปีได้ โดยระยะฟักตัวจะสั้นหรือยาวนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ ความรุนแรงของบาดแผล บริเวณที่ถูกกัด ระยะห่างของบาดแผลกับสมอง และเชื้อจากสัตว์ป่าซึ่งอันตรายกว่าสัตว์เลี้ยง ทั้งนี้ในพื้นที่ตำบลควนกาหลงซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงของพื้นที่ตำบลอุใดเจริญได้รับรายงานจากปศุสัตว์อำเภอได้เกิดโรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ(Hydrophobia) เป็นโรคติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง ที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า สามารถติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ ในประเทศไทยสัตว์พาหะนำโรคที่สำคัญคือสุนัขและแมว(ข้อมูลจาก สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์,๒๕๕๙) โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเรบี่ไวรัส (Rabies virus) ซึ่งเป็นอาร์ เอน เอ ไวรัส (RNA virus)มีการติดต่อจากสัตว์ป่วยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายไปสู่มนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงลุกด้วยนมตัวอื่นผ่านทางน้ำลาย โดยผ่านทางการกัด การข่วน และการเลียบริเวณที่มีบาดแผลระยะฟักตัวของโรคพิษสุนัขบ้าเป็นระยะเวลานับตั้งแต่เชื้อโรคไวรัสเข้าสู่ร่างกายจนก่อให้แสดงอาการของโรคโดยสามารถพบได้นานถึง 6 เดือน ซึ่งจะต่างกันไปตามชนิดสัตว์ สำหรับระยะฟักตัวของโรคพิษสุนัขบ้าในคน จะใช้เวลาประมาณ2-8สัปดาห์ หรืออาจจะสั้นเพียง 5 วัน แต่ในบางรายอาจยาวนานเป็นปีได้ โดยระยะฟักตัวจะสั้นหรือยาวนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ ความรุนแรงของบาดแผล บริเวณที่ถูกกัด ระยะห่างของบาดแผลกับสมอง และเชื้อจากสัตว์ป่าซึ่งอันตรายกว่าสัตว์เลี้ยง สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในรอบเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2560จำนวน 3 หัว ในท้องที่ 2 หมู่บ้าน พบสุนัขจรจัดป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า และได้กัดคนและกัดสุนัขอื่นๆที่มีเจ้าของจำนวนหลายราย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นกังวลในเรื่องความปลอดภัยในชีวิต ของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นโรคสัตว์ติดสัตว์ โรคสัตว์ติดคน และถ้าเป็นในคนก็มีโอกาสที่จะติดคน ซึ่งกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญเล็งเห็นถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อสัตว์และโดยเฉพาะประชาชนในตำบลอุใดเจริญจึงต้องรีบดำเนินการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค จึงได้จัดโครงการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าภายในตำบลอุใดเจริญขึ้น โดยการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เนื่องจากเป็นการส่งเสริมการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในตำบลอุใดเจริญให้กับประชาชนได้เกิดความปลอดภัยจากโรคที่มีสัตว์เป็นพาหะนำโรค หรือแพร่ระบาดของโรคมาสู่คนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ

1.การประชาสัมพันธ์ครอบคลุมทั้ง 9 หมู่บ้าน 2.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า

2 2.เพื่อป้องกันและควบคุมการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยงและสัตว์เร่ร่อนซึ่งเป็นพาหะนำโรค

1.ร้อยละ 90 ของจำนวนสัตว์ที่ขึ้นทะเบียนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

3 3 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่

1 ประชาชนตื่นตัวในการนำสัตว์เลี้ยงมาฉีดวัคซีน
2 ประชาชนมีการเฝ้าระวังและแจ้งเหตุหากสงสัย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 มิ.ย. 60 - 31 ส.ค. 60 1.1 จัดทำป้าย รณรงค์ให้เห็นถึงอันตรายและการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 1.2 การประชาสัมพันธ์ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 1500 3,888.00 4,563.00
15 มิ.ย. 60 - 31 ส.ค. 60 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ 60 14,275.00 68,034.00
1 ก.ค. 60 - 31 ส.ค. 60 ฉีดวัคซีนในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 9 หมู่บ้าน 1500 76,850.00 14,300.00
รวม 3,060 95,013.00 3 86,897.00
  1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้เห็นนความสำคัญของอันตราย และการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
  2. การอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนหรือประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า การป้องกัน การเฝ้าระวัง และการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า
  3. การจัดฝึกอบรมผู้รับหน้าที่ทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และแต่งตั้งให้เป็นผู้ทำการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า
  4. การรณรงค์การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์เร่ร่อนโดยเฉพาะสุนัขและแมว ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ
  5. กิจกรรมควบคุมการขยายพันธุ์โดยการทำหมันสัตว์ (ประสานงานร่วมกับปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์จังหวัด)
  6. การติดตามและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับภัยอันตราย การป้องกันและ การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า 2 สัตว์เลี้ยงหรือสัตว์เร่ร่อนโดยเฉพาะสุนัขและแมวซึ่งเป็นพาหะนำโรค ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 3 พื้นที่ตำบลอุใดเจริญไม่มีรายงานการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2560 10:14 น.