กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคระบาดที่มากับน้ำ
รหัสโครงการ 64-L4143-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 18 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 พฤศจิกายน 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 54,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรัณยา ปูเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลสะเตงนอก ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีพื้นที่รับผิดชอบ 34.78 ตารางกิโลเมตร ครอบคุลมทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ประชากรมีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย โดยส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพ เกษตรกรรม มีกิจกรรมการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ทำสวนยางพารา สวนปาล์ม สวนผลไม้ ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคมของทุกปี จะเป็นช่วงเวลาการประกอบอาชีพทำนาของเกษตรกรชาวนาในพื้นที่ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูที่มีแหล่งน้ำเพียงพอต่อการทำนา จากรายงานของกลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย สาธารณสุขจังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 พบชาวบ้านในพื้นที่ หมู่ที่ 6 ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา ซึ่งมีอาชีพทำนาจำนวน 18 ราย มีอาการเป็นเม็ดผื่น คัน และตุ่มน้ำที่บริเวณแขนและขาที่สัมผัสน้ำ หลังจากลงไปดำนาเพียง 1 วัน โดยข้อมูลเบื้องต้นสอดคล้องกับกรณีการระบาดของโรคหอยคันที่พบได้ในหลายอำเภอที่ประกอบอาชีพทำนา  โดยโรคนี้จะพบมีอาการเป็นลักษณะของโรคผิวหนังที่เกิดจากพยาธิที่อยู่ในน้ำได้ชอนไชเข้าสู่ผิวหนังแล้วกระตุ้นให้เกิดอาการคัน ถ้ารักษาความสะอาดไม่ดีพอก็อาจเกิดแผลพุพองได้ พยาธิเหล่านี้เป็นตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ในเลือด ซึ่งเป็นพยาธิใบไม้ในสัตว์ต่าง ๆ เช่น วัว ควาย เป็นต้น พยาธิเหล่านี้จะมีวงจรชีวิตช่วงหนึ่งที่อาศัยอยู่ในหอยที่มีลักษณะคล้ายหอยขมและหอยสังข์ขนาดเล็ก ตัวหอยมีสีดำ เมื่อพยาธิเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายของเราจะไม่เป็นอันตรายเนื่องจากไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่จะก่อให้เกิดความรำคาญจากอาการคันและไม่สุขสบาย ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทำนาในพื้นที่ดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคระบาดที่มากับน้ำในปีงบประมาณ 2564 เพื่อให้ชาวบ้านได้มีความรู้ในการป้องกันตนเองที่เหมาะสมและมีอุปกรณ์เพียงพอในการป้องกันตนเองจากการสัมผัสแหล่งน้ำที่จะก่อให้เกิดการระบาดของโรคได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพที่ต้องสัมผัสกับแหล่งน้ำมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคที่มากับ น้ำ

ประชาชนที่ประกอบอาชีพที่ต้องสัมผัสกับแหล่งน้ำได้รับอุปกรณ์ในการป้องกันตนเองร้อยละ 100

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพที่ต้องสัมผัสกับแหล่งน้ำมีอุปกรณ์ในการป้องกันตนเอง

-ประชาชนที่ประกอบอาชีพที่ต้องสัมผัสกับแหล่งน้ำมีความรู้ในการป้องกันตนเองร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 54,200.00 1 54,200.00
1 ธ.ค. 63 กิจกรามที่่ 1 วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ 0 54,200.00 54,200.00

1.สำรวจพื้นที่และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ประกอบอาชีพที่ต้องสัมผัสกับแหล่งน้ำ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบาดที่มากับน้ำ 2.ประชุมพิจารณาเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการช่วยเหลือป้องกันประชาชนจากโรคระบาดที่มากับน้ำ 3.เสนอโครงการเพื่อขอรับความเห็นชอบ และอนุมัติโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนโดยใช้งบประมาณประเภทกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ 10 (5) 5.จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันโรคและป้องกันการสัมผัสกับแหล่งน้ำ 6.ลงพื้นที่แจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันตนเองแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในการป้องกันตนเอง โดยใช้แผ่นพับเป็นสื่อ 7.สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคระบาดที่มากับน้ำได้ถูกต้อง 2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีอุปกรณ์ป้องกันตนเองจากการสัมผัสแหล่งน้ำเพื่อป้องกันโรคระบาดที่มากับน้ำ
ได้ครบถ้วน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2563 11:44 น.