กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ NCD Delivery (01-12)
รหัสโครงการ 64-l4123-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทรายแก้ว
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 1 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 33,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮารีส หะยีดอรอนิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญของโลกและประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค ล้วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสความเจริญของโลก ประกอบกับโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงทำให้มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงยังทำให้ผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้สำนักโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต้องดำเนินการเฝ้าระวังโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเรื้อรังทางเดินหายใจส่วนล่าง ในปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ทั้งสิ้น จำนวน 620,413 ราย และผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ทั้งสิ้น จำนวน 266,903 ราย นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น จำนวน 8,525 ราย และโรคความเบาหวานทั้งสิ้น จำนวน 14,322 ราย
สำหรับในพื้นที่จังหวัดยะลา ปี 2563 พบผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 4,561 ราย ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 1,792 ราย โดยอำเภอบันนังสตา ยังคงพบผู้ป่วยรายใหม่ทุกปี ในปี 2563 พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 407 ราย ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 160 ราย ส่วนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ 1 ราย ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ 8 ราย ส่วนที่เหลือ 3 โรค มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่า โรคความดันโลหิตสูงและโรคความเบาหวาน มีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนในพื้นที่ และก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งจากการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่ที่ผ่านมา ประสบปัญหาการจัดบริการสุขภาพที่ไม่ทั่วถึง ขาดประสิทธิภาพ มีการแยกส่วนจุดบริการที่ขาดการแก้ปัญหาร่วมกัน และขาดความเชื่อมโยงต่อเนื่องในการรักษา อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการและการเสียชีวิต ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ NCD Delivery ขึ้น เพื่อพัฒนาระบบการติดตามและดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน และความพิการ ตลอดจนลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่ได้
เป้าหมายอสม. จำนวน 60 คน / ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบ จำนวน 80 คน พื้นที่ดำเนินการพื้นที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ม.3, ม.4 และ ม.10 ต.ตลิ่งชัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่ รพ.สต. /อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และญาติในการดูแลต่อเนื่องที่บ้านและการเสริมพลังอำนาจให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

100.00 80.00
2 เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานให้สามารถนำไปใช้ดูแลตนเองและชุมชนได้

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในพื้นที่สามารถนำไปใช้ดูแลตนเองและชุมชนได้

100.00 80.00
3 3 .เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

100.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 33,000.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 1 ส.ค. 64 อบรม เชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกัน การปฏิบัติและทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน (จัดอบรม 2 รุ่น) 80 20,000.00 -
1 ม.ค. 64 - 1 ส.ค. 64 ติดตามดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขาดนัด และตรวจสุขภาพผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 60 13,000.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
  1.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ   2.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ อสม. และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน   3.ติดตามดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขาดนัด และตรวจสุขภาพผู้ป่วยและตรวจสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน   4.วิเคราะห์/สรุปผลการดำเนินงาน/นำเสนอข้อมูล   5.ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตระหนักถึงการรักษาอย่างต่อเนื่องมากขึ้น 2.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังภาวะแทรกซ้อน ความพิการและเสียชีวิตลดลง 3.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเข้าถึงการบริการมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2563 11:36 น.