กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลเฝ้าระวังสุขภาพจิตเพื่อป้องกันปัญหาฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยง ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L3325-1-
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคลอง
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 ธันวาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 7 กันยายน 2564
งบประมาณ 22,117.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรลักษณ์ บุญจันทร์ศรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 ธ.ค. 2563 31 ส.ค. 2564 22,117.00
รวมงบประมาณ 22,117.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2133 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีความรุนแรงและทวีจำนวนมากขึ้นด้วยเรื่อยๆ ส่งกระทบอย่างมากต่อตนเองครอบครัวและสังคม แม้ว่า รพ.สต.บ้านปากคลอง จะมีการดำเนินการคัดกรองและเฝ้าระวังปัญหานี้มาอย่างต่อเนื่อง แต่ในปี 2563 ก็พบว่ามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ จำนวน 2 รายหรือคิดเป็น 62.50 ต่อแสนประชากร จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการปฏิบัติงานในปี 2563 พบว่าอัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าของประชาชนในเขตรับผิดชอบยังต่ำกว่าเกณฑ์ คือมีประมาณการความชุกผู้ป่วยซึมเศร้า ร้อยละ 2.3 หรือ 474 คน โดยมีผลงาน 179 คน และอัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคจิตเภทยังต่ำกว่าเกณฑ์ประมาณการความชุกของผู้ป่วยจิตเภทร้อยละ 0.8 คิดเฉพาะ F 20 จำนวน 165 คนผลงาน 65 คน

  นอกจากนี้พบว่า ผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการแล้วส่วนใหญ่คือโรคจิตจากสารเสพติดที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมตัวเองก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม และส่งผลให้เกิดการฆ่าตัวตายสำเร็จอีกด้วย ส่วนโรคอื่นๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า พบว่าผู้ป่วยหรือญาติจะมารับยาในช่วงที่มีอาการ เมื่อมีอาการดีขึ้นจะไม่มาตามนัด ขาดการรักษาต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยขาดยาและผู้ป่วยโรคจิตเวชมีอาการทางจิตกำเริบซ้ำ อย่างไรก็ดี ผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จที่พบทั้ง 2 ราย มีสาเหตุจากพฤติกรรมดื่มสุราและสารเสพติดจึงมีอาการทางจิตจากสุรา ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการให้บริการสุขภาพเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว


  มีผลการศึกษาทางวิชาการรายงานไว้ว่า “การป้องกันโรคซึมเศร้าที่ได้ผลคือ Early detection และให้การช่วยเหลือทันทีตั้งแต่เริ่มมีอาการซึมเศร้าและมีเครื่องมือประเมินที่ง่ายและมีความไวในการประเมินใช้ง่ายเหมาะสมสำหรับใช้ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำชุมชนหรือประชาชนทั่วไปก็สามารถนำมาใช้ในการประเมินตนเองได้ด้วยตนเอง” เครื่องมือที่กล่าวถึงเรียกว่าแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหรือ DS8 ที่พัฒนาโดยทวีตั้งเสรีและคณะ(2561)

    แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้านี้มี 2 องค์ประกอบ คือ Mood and cognitive behavior component และ somatic component โดยมีความความไวร้อยละ 98.9 ความจำเพาะร้อยละ 71.9 ในส่วนของการคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเหลือเพียงองค์ประกอบเดียว คือ Suicidal intention มีคำถาม 2 ข้อมีค่าความไวร้อยละ 89.1 ความจำเพาะร้อยละ 89.4 แบบคัดกรองฉบับนี้จึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่ 1 ใช้คัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า (ข้อ 1-6 ) และส่วนที่ 2 ใช้คัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (ข้อที่ 7-8) เป็นแบบคัดกรองที่ง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้ในชุมชน ถ้าผลประเมินพบว่า ถ้าตอบว่ามีตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไปหรือ 3 คะแนนขึ้นไปในคำถามข้อที่ 1-6 ซึ่งเป็นคำถามของแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าหมายถึงมีภาวะซึมเศร้า จะได้รับการให้บริการปรึกษาหรือพบแพทย์เพื่อการบำบัดรักษา และถ้าตอบว่า “มี” ตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไปหรือ 1 คะแนนขึ้นไปในข้อตอบคำถามข้อที่ 7 – 8 เป็นคำถามของแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หมายถึง “มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย”

    เพื่อแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จในพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคลอง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนารูปแบบการดูแลเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยง ปีงบประมาณ 2564 ขึ้นโดยมีการใช้แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หรือ Ds 8 เป็นเครื่องมือในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและอาศัยความร่วมมือจากชุมชนและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ผลักดันให้เกิดการดำเนินงานตามแนวคิดหัวใจมีหูของกรมสุขภาพจิต ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่มีความเข้าใจต่อสัญญาณเตือนภัยฆ่าตัวตาย 10 ประการ และเห็นความสำคัญของ “การฟังได้หัวใจ” ใช้หัวใจฟังให้ได้ยินในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่ เพื่อช่วยฉุดคนจากการคิดฆ่าตัวตายและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้ทันท่วงทีและสามารถออกแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ตนเองได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงคือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง,ผู้สูงอายุ และผู้ใช้สุรายาเสพติดได้รับการประเมิน 2Q,9Q และ 8Q ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อให้ อสม. มีความรู้สามารถค้นหาเฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย

2.อสม.ได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็น “อสม.เชี่ยวชาญสุขภาพจิต” มีความรู้เรื่อง คู่มือ 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายสามารถค้นหา เฝ้าระวังและแจ้งเหตุ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

0.00
3 3. เพื่อสร้างรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายสำหรับใช้ในสถานบริการและพื้นที่

3.มีรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จใช้ในสถานบริการและพื้นที่

0.00
4 4. เพื่อให้ประชาชนเข้าใจรับรู้ถึงสัญญาณ เตือนในการฆ่าตัวตายกับคนใกล้ตัวและสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้

4.ร้อยละ 50 ของประชาชนได้รับการเยี่ยมบ้านถ่ายทอดความรู้ เรื่อง 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตาย

0.00
5 5. คัดกรองและประเมินสุขภาพจิตของผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายด้วยคำถาม2Q,9Q และ 8Q ตามรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการ

5.ผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินสุขภาพจิตตามรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
6 6. ติดตามดูแลให้ผู้ป่วยโรคจิตและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

6.ผู้ป่วยโรคจิตและผู้ป่วยโรคศิลป์เศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2174 22,117.00 0 0.00
1 - 29 ม.ค. 64 1.อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม. จำนวน 41 คนให้เป็น “อสม.เชี่ยวชาญสุขภาพจิต” สามารถดำเนินงานตามคู่มือสุขภาพที่ชุมชนสลับ อสม.ของกรมสุขภาพจิต มีความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและเข้าใจในเรื่อง 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายและหลักธรรมปฐมพยาบาลทางจิตใจ 41 10,780.00 -
1 มี.ค. 64 - 31 พ.ค. 64 คัดกรองภาวะตัวซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ใน (depress and Suicide Screening test : DS8) กลุ่มเป้าหมายโดยคัดกรองโรคซึมเศร้าแล้วตัวเองฆ่าตัวตาย คำถาม 2Q,9Q และ 8Q โดยเจ้าหน้าที่และ อสม. เชียวชาญสุขภาพจิต (ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1,017 คนผู้สูงอายุจำนวน 2,133 6,489.00 -
2 - 31 ส.ค. 64 6. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ 10 สัญญาณเตือนภัยฆ่าตัวตาย ฟังด้วยหัวใจให้ได้ยิน ในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่ ติดตั้งที่ศูนย์กลางของชุมชนแต่ละหมู่บ้าน 0 4,848.00 -

1.อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้เป็น “อสม.เชี่ยวชาญสุขภาพจิต” สามารถดำเนินงานตามคู่มือสุขภาพจิตชุมชนสำหรับ อสม.ของกรมสุขภาพจิต มีความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและเข้าใจในเรื่อง 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายและหลักการปฐมพยาบาลทางจิตใจ 2. สร้างรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการและพื้นที่ที่ครอบคลุมทั้งการคัดกรองการนำ 10 สัญญาณเตือนภัยมาใช้ในชุมชนและครัวเรือนการแจ้งข่าวการส่งต่อการดูแลเบื้องต้น 3. คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (depress and Suicide Screening test : DS8 ) ในกลุ่มเป้าหมายโดยคัดกรองโรคซึมเศร้าและการประเมินการฆ่าตัวตายคำถาม 2Q,9Q และ 8Q 4 คัดกรองและประเมินสุขภาพจิตของผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายโดยคำถาม 2Q,9Q และ 8Q ตามรูปแบบและแนวทางในการป้องกันการฆ่าตัวตายในสถานบริการ
5 ติดตามดูแลให้ผู้ป่วยโรคจิตแต่พวกเราลูกซึมเศร้าที่อยู่ระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2563 13:19 น.