กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้มาลาเรีย (01-18)
รหัสโครงการ 64-l4123-01-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทรายแก้ว
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2021 - 31 สิงหาคม 2021
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2021
งบประมาณ 46,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮารีส หะยีดอรอนิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4651 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้มาลาเรีย เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งการควบคุมโรคไข้มาลาเรีย ถือเป็นนโยบายหลักในงานด้านสาธารณสุข โดยการเกิดโรคไข้มาลาเรียนั้น มีสาเหตุมาจากยุงก้นปล่อง ที่เป็นพาหะนำโรค ประกอบกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่เป็นป่าเขา มีแหล่งน้ำ ลำธารไหลผ่านหลายสาย และสภาพแวดล้อมอื่นๆที่เอื้อต่อการเกิดโรค นอกจากนี้ การประกอบอาชีพต่างๆและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไข้มาลาเรีย ในพื้นที่ได้ จังหวัดยะลา เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้มาลาเรียอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอำเภอบันนังสตามีรายงานการเกิดโรค ไข้มาลาเรียในทุกตำบลของพื้นที่ ส่วนในเขตตำบลตลิ่งชัน มีข้อมูลผู้ป่วยสะสม 5 ปีย้อนหลัง (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 – วันที่ 20 ต.ค.2563) จำนวนทั้งสิ้น 999 ราย ซึ่งถือว่าพื้นที่ตำบลตลิ่งชันยังพบผู้ป่วยจำนวนมาก และเป็นปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่ สำหรับสถานการณ์โรคไข้มาลาเรีย 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2559 – 2563 ) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย ดังนี้ ปี 2559 ผู้ป่วย จำนวน 339 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 8,216.19 ปี 2560 ผู้ป่วย จำนวน 200 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 4,887.58 ปี 2561 ผู้ป่วย จำนวน 10 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 237.13 ปี 2562 ผู้ป่วย จำนวน 7 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 157.09 และในปี 2563 (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2563 ) ผู้ป่วย จำนวน 10 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 241.54 ตามลำดับ โดยในปี 2559 พบผู้ป่วยด้วยไข้มาลาเรียมากกว่าปีอื่นๆ จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า โรคไข้มาลาเรีย ยังคงมีการระบาดในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขที่ต้องดำเนินการแก้ไข ดังนั้น เพื่อให้ชุมชนสามารถเฝ้าระวังการเกิดโรคและควบคุมการระบาดของโรคไข้มาลาเรีย อย่างมีประสิทธิภาพจึงได้จัดทำ “โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้มาลาเรีย” ขึ้น เป้าหมาย1. บ้านทั้งหมด 1,219 หลังคาเรือน โดยแยกเป็น หมู่ 3 จำนวน 551 หลังคาเรือน หมู่ 4 จำนวน 326 หลังคาเรือน และหมู่ 10 จำนวน 342 หลังคาเรือน 2. โรงเรียน จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านทรายแก้ว, โรงเรียนนิคมฯ5 และโรงเรียนนิคมฯ6 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลมะรูฟจำนวน 1 แห่ง
4. มัสยิด จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย มัสยิดทรายแก้ว, มัสยิดลิเง๊ะ, มัสยิดลีจิง, มัสยิดบายิ และมัสยิดโต๊ะปาแว 5. สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง พื้นที่ดำเนินการพื้นที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ม.3, ม.4 และ ม.10 ต.ตลิ่งชัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย

อัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 30

100.00 30.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน และภาคีเครือข่ายในชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ไข้มาลาเรีย

ร้อยละ 80 ของประชาชนและภาคีเครือข่ายในพื้นที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้มาลาเรีย และมีความพึงพอใจในกิจกรรมฯการดูแลสุขภาพตนเองให้ปลอดภัยจากโรค

100.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 4651 46,200.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 พ่นหมอกควัน และพ่นสารเคมีติดฝาผนัง ในพื้นที่รับผิดชอบ โรงเรียน/ศพด./มัสยิด และสำนักสงฆ์ 4,651 46,200.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. วิเคราะห์พื้นที่ระบาดและพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค   3. ประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจงโครงการ/ กำหนดกิจกรรมและมอบหมายหน้าที่ในการดำเนินงาน รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติงานพ่นหมอกควันและพ่นสาเคมีติดฝาผนัง เพื่อเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้มาลาเรีย
  4. ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงาน โดยการพ่นหมอกควัน และพ่นสารเคมีติดฝาผนัง ในพื้นที่รับผิดชอบ ปีละ 2 ครั้ง
(ห่างกัน 6 เดือน) มีรายละเอียด ดังนี้
    -พ่นหมอกควัน และพ่นสารเคมีติดฝาผนัง ในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 1,219 หลังคาเรือน โดยแยกเป็น หมู่ 3 จำนวน 551  หลังคาเรือน หมู่ 4 จำนวน 326 หลังคาเรือน และหมู่ 10 จำนวน 342 หลังคาเรือน     -พ่นหมอกควัน และพ่นสารเคมีติดฝาผนัง ในโรงเรียน จำนวน 3 แห่ง และในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง     -พ่นหมอกควัน และพ่นสารเคมีติดฝาผนัง ในมัสยิด จำนวน 5 แห่ง     -พ่นหมอกควัน และพ่นสารเคมีติดฝาผนัง ในสำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียลดลงจากปีที่ผ่านมา
2. ประชาชนสามารถเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดโรคได้
3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ภาคีเครือข่ายในชุมชน/อสม. และประชาชนทั่วไป ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน และสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2020 15:54 น.