กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยห่างไกลโรคฟันผุ
รหัสโครงการ 2564-L3351-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 21 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2564
งบประมาณ 4,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอนก กลิ่นรส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 3-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคนโดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครองที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสียถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกัน รวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติอาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกัน หรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออก การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปากการแปรงฟันที่ถูกวิธีการบำบัดรักษา และการติดตามประเมินผล ดังนั้นเพื่อเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวและเฝ้าระวังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว จึงได้ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกชะงายจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กในพื้นที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี ร้อยละ 90

เด็กในพื้นที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี ร้อยละ 90

80.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ สามารถดูแลฟันน้ำนมได้ ร้อยละ 80

ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ดูแลฟันน้ำนมได้ ร้อยละ 80

80.00 80.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุลง ร้อยละ 50

การเกิดโรคฟันผุลง ร้อยละ 50

62.00 62.00
4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการเคลือบฟลูออไรด์ทุกคน

เด็กปฐมวัยได้รับการเคลือบฟลูออไรด์ทุกคน

80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,400.00 4 4,400.00
10 ก.พ. 64 - 10 มิ.ย. 64 ตรวจสุขภาพในช่องปากพร้อมเคลือบฟลูออไรด์ 0 0.00 0.00
12 มี.ค. 64 อบรมให้ความรู้ 0 4,400.00 4,400.00
11 มิ.ย. 64 ติดตามการตรวจสุขภาพในช่องปาก 0 0.00 0.00
11 มิ.ย. 64 เรียนรู้ร่วมกัน 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • เด็กอายุ 10-60 เดือน ที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพฟันดี ร้อยละ 90
  • ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความสามารถดูแลฟันน้ำนมได้ ร้อยละ 80
  • กลุ่มเป้าหมายได้รับการเคลือบฟลูออไรด์
  • อัตราเกิดโรคฟันผุลดลง ร้อยละ 50
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2563 00:00 น.