กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกปี 2564 (01-24)
รหัสโครงการ 64-l4123-01-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 67,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสีตีนุร อาแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลงที่กำหนดไว้ในนโยบายระดับชาติ และเป็นปัญหาสาธารณสุข ซึ่งในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนในชุมชน มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการป้องกันและควบคุมโรคให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
สถานการณ์การระบาดในประเทศไทย สัปดาห์ที่32 ปี2563 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 44,403 ราย อัตราป่วย 66.97 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 32 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.07 และการกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราป่วยสูงที่สุด เท่ากับ 91.56 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา ได้แก่ ภาคเหนือ 72.54 ต่อประชากรแสนคน ภาคกลาง 49.25 ต่อประชากรแสนคน และภาคใต้ 44.42 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ(ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ,2563) อำเภอบันนังสตาเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลามีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559-2563 อัตราป่วย 204.60 , 43.89 , 101.88 ,557.23 , 133.61 และต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบันนังสตา ,2563) จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกคาดการณ์อาจจะมีการระบาดต่อเนื่องในปี 2564 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา มี 13 หมู่บ้าน มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกกระจายทุกหมู่บ้าน ผู้ป่วยไข้เลือดออกปี2563 พบว่ามีอัตราป่วย 74.77 ต่อประชากรแสนคน สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านตะบิงติงงี ตำบลตลิ่งชัน รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1, หมู่ 8, หมู่ 11 และหมู่ 13 พบผู้ป่วยทุกๆปี ตั้งแต่ปี2559 - 2563 พบว่า มีอัตราป่วย 106.74 ,42.48 ,42.17 ,627.48 ,250.20 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ(สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบันนังสตา, ,2563) โดย ปี 2563 พบว่าอัตราป่วยลดลงกว่า ปี 2562 แต่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง จึงทำให้ ปี 2564 มีโอกาสเกิดการระบาดต่อเนื่อง ดังนั้นทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญปัญหาโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ต้องดำเนินการแก้ไข จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2564 สอดคล้องยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมตามกลวิธีเมืองน่าอยู่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มวัย

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือกออก ลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง  (ปี 2559-2563) ร้อยละ 20

100.00 20.00
2 เพื่อให้แกนนำชุมชน และแกนนำครอบครัว มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
  • แกนนำ และประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ร้อยละ 90
100.00 90.00
3 เพื่อให้ประชาชนทุกหลังคาเรือนมีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนด้วยวิธีการที่ถูกต้องเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
  • ร้อยละ 80 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (ค่า HI) ในชุมชนต่ำกว่า 10   และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (ค่า CI) ในโรงเรียนเป็น  0
100.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 20 67,300.00 0 0.00
1 - 31 ธ.ค. 63 จัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 0 19,700.00 -
1 ม.ค. 64 - 31 มี.ค. 64 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ โรคติดต่อนำโดยแมลง (ไข้เลือดออก) 20 5,600.00 -
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 พ่นหมอกควัน ในพื้นที่รับผิดชอบ(ชุมชน)/โรงเรียน/ศพด./มัสยิด 0 42,000.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
2.วิเคราะห์พื้นที่ระบาดและพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค 3.ประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจงโครงการ/ กำหนดกิจกรรมและมอบหมายหน้าที่ในการดำเนินงาน รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการ
4.ดำเนินงานตามแผน   - กิจกรรม 1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ โรคติดต่อนำโดยแมลง (ไข้เลือดออก) แก่ แกนนำชุมชน แกนนำครอบครัว และประชาชน
  ในตำบลตลิ่งชัน (หมู่1 ,8 ,11 ,13)   - กิจกรรม 2 พ่นหมอกควัน ชุมชนที่มีการระบาด โรงเรียน มัสยิด และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พื้นที่ (หมู่1 ,8 ,11 ,13)   - กิจกรรม 3 ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ (หมู่1 ,8 ,11 ,13) 5.ดำเนินงานตามแผน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น
2. แกนนำชุมชน แกนนำครอบครัว และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม 3. ประชาชนทุกหลังคาเรือนมีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนด้วยวิธีการที่ถูกต้องเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2563 14:11 น.