กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 2564-L3351-03-28
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 21 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 80,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิตย์ ขวัญพรหม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 260 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
260.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)
74.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
260.00
4 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
260.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมาและสังคมไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วและจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วคาดว่าอีกยี่สิบปีข้างหน้าเราจะมีผู้สูงอายุถึงหนึ่งในสี่ของประชากรดังนั้นผู้สูงอายุจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศไทยมากขึ้นทุกขณะ เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ประชากรมีอายุขัยยืนยาวขึ้นจำนวน ผู้สูงอายุจึงเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จากภาวะนี้ทำให้หลายประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยที่มีความตื่นตัวและเตรียมการเพื่อรองรับและให้การดูแลประชากรกลุ่มนี้มากขึ้น การดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุนับว่าเป็นภารกิจที่สำคัญสำหรับครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม เพื่อให้เกิดการดูแล เอื้ออาทรแก่ผู้สูงอายุซึ่งนับว่าเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชนและสังคมมาก่อน จนถึงวัยที่ผู้สูงอายุสมควรได้รับการตอบแทน โดยการดูแล และห่วงใย ธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ มีลักษณะโดยรวมเหมือนกันในทุกคน ทุกเชื้อชาติ ศาสนา เพียงแต่ระยะเวลาความช้าหรือเร็วของการเข้าสู่ความชราจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สิ่งแวดล้อม การดูแลสุขภาพ พันธุกรรม และภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามความสูงวัยย่อมเกิดอย่างแน่นอนเพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ความสูงวัยนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ๓ ด้านใหญ่ๆในผู้สูงอายุ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ และสังคมก็มีความสำคัญ ซึ่งตัวผู้สูงอายุเองและบุคคลรอบข้างก็ควรให้ความสนใจการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ด้วย
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายในผู้สูงอายุมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นการเปลี่ยนแปลงใน ทาง เสื่อมสภาพการทำงานของระบบต่างๆของร่างกายลง การดูแลผู้สูงอายุซึ่งทำโดยตัวผู้สูงอายุและครอบครัวจึงควรเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุคงไว้ซึ่งความสามารถทางด้านร่างกาย และส่งเสริมการทำงานของระบบ อวัยวะต่างๆของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นในการดูแล การควบคุมและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงควรมีการตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุในระดับเบื้องต้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกชะงายจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพ ตรวจไขมันในเลือดผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังทุกคน

ผู้สูงอายุที่ไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจไขมันในเลือดทุกคน

260.00 260.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจากการตรวจคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 1 ทุกคน

ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงจากการตรวจคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 1 ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน

78.00 78.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 2 ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ ทุกคน

ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 2 ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ ทุกคน

10.00 10.00
4 เพื่อลดอัตราป่วยใหม่ด้วยโรคไขมันในเลือดไม่เกิน ร้อยละ 1

ลดอัตราป่วยใหม่ด้วยโรคไขมันในเลือดไม่เกิน ร้อยละ 1

1.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 80,860.00 6 0.00
1 ม.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองไขมันในเลือด ครั้งที่ 1 0 0.00 -
20 ม.ค. 64 กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองไขมันในเลือด ครั้งที่ 1 0 63,700.00 -
11 ก.พ. 64 ตรวจคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 1 0 0.00 0.00
25 มี.ค. 64 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองไขมันในเลือด ครั้งที่ 1 0 0.00 0.00
1 พ.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 การตรวจสุขภาพและตรวจคัดกรองไขมันในเลือดกลุ่มเสี่ยงครั้งที่ 2 0 17,160.00 -
1 พ.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 กิจกรรมที่ 5 ติดตามและประเมินผล (เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ) 0 0.00 -
1 พ.ค. 64 ติดตามประเมินผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 0 0.00 0.00
14 พ.ค. 64 กิจกรรมที่ 4 ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองการตรวจไขมันในเลือดครั้งที่ 2 พบแพทย์ 0 0.00 -
21 พ.ค. 64 การตรวจสุขภาพและตรวจคัดกรองไขมันในเลือดกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 2 0 0.00 0.00
25 พ.ค. 64 ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงการตรวจคัดกรองไขมันในเลือดครั้งที่ 2 พยแพทย์ 0 0.00 0.00
1 - 31 ก.ค. 64 กิจกรรมที่ 6 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 0 0.00 -
1 ก.ค. 64 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • อัตราป่วยใหม่ด้วยโรคไขมันในเลือดไม่เกิน ร้อยละ 1
  • สามารถเฝ้าระวังการเกิดโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2563 00:00 น.