กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนองบ่อร่วมใจป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 64-L1510-05-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.หนองบ่อ
วันที่อนุมัติ 25 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 15,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอำนวย นวลแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองบ่อ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.416,99.718place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ม.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 15,920.00
รวมงบประมาณ 15,920.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม– กันยายน ของทุกปีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ให้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกและเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ตำบลหนองบ่อ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบ่อตั้งแต่ปี 2560 - 2563 จำนวน 6, 8 และ 4 ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 188.70 ,397.08 และ 84.71 ต่อแสนประชากร (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบ่อ.งานระบาดวิทยา,2563) ตามลำดับไม่มีผู้ป่วยตายพบผู้ป่วยกระจายทุกหมู่บ้านจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยเกิน50 ต่อแสนประชากร โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโดยมียุงลายเป็นพาหะ และมีอันตรายถึงแก่ชีวิต จากการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกปี 2564 คาดว่าในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบ่อจะยังมีผู้ป่วยไข้เลือดออก ด้วยยังพบค่าดัชนีชีวัดลูกน้ำยุงลายเกินเกณฑ์ ดังนั้น ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบ่อจึงได้จัดทำโครงการหนองบ่อร่วมใจป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น โดยได้วางมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1. ระยะก่อนการระบาด ตั้งแต่เดือน มกราคม- เดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงโอกาสการแพร่โรคเกิดน้อย สามารถป้องกันโรคล่วงหน้า ด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้ได้มากที่สุด โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และประชาชน
ระยะที่ 2. ระยะระบาด เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม -เดือนสิงหาคม เน้นมาตรการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมทั้งด้านการรักษา อุปกรณ์ และทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เปิดศูนย์ปฏิบัติการ(War Room) เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการสั่งการและแก้ไขปัญหา ตลอดจนควบคุมโรคได้อย่างทันเวลาในพื้นที่ ที่มีการระบาดและไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง และออกให้ความรู้ในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงที 2.เพื่อให้มีวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการควบคุมป้องกันโรค และไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก 3.เพื่อสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย( HI CI ) ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2000 15,920.00 0 0.00
15 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อสม. ออกสำรวจเฝ้าระวังค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายคลอบคุลมทุกหลังคาเรือน 2,000 15,920.00 -
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดรายละเอียดกิจกรรมในโครงการ - เขียนโครงการและเสนอโครงการของบประมาณ 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อกำหนดนัดหมาย
- จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงานตามโครงการ - ประชาสัมพันธ์โครงการ 3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
- จัดซื้อวัสดุเพื่อใช้ดำเนินงานตามโครงการ - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมีจำนวนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2563 14:55 น.