กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอสม.ร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L2997-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ 2 หมู่ 3 ต.บ้านน้ำบ่อ
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2560 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม. ม.2 ม.3 ต.บ้านน้ำบ่อ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอาซีซะ กาเรง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.817,101.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหนะโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งเพราะพันธ์ุเพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหนะโรคได้เป็นอย่างดี ในฐานะแกนนำชุมชนซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการควบคุมและเฝ้าระวังไข้เลือดออกในชุมชน จึงมีความสนใจที่จะจัดทำโครงการ อสม.ร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออกในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ "โรคไข้เลือดออก" ก่อนฤดูการระบาด เพื่อลดโอกาสการสัมผัสระหว่างมนุษย์กับแมลงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนในชุมชนต่อการติดเชื่อโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม.แกนนำสุขภาพ มีความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกในชุมชน

 

2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน

 

3 ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

4 ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดเตรียม ซื้ออุปกรณ์ สื่อต่างๆ ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  2. ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไข้เลือดออก สุขภาพออกเยี่ยมรายบ้าน
  4. อสม.ติดตามหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบให้ค่า CI HI ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
  5. ประเมินผลโครงการ
  6. สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
  2. ค่า CI HI ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
  3. ประชาชน อสม.และแกนนำสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจ ในากรควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสมและเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2560 09:10 น.