กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กผอม อายุ 1-4 ปี โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม
รหัสโครงการ 64-L4120-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 25,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยูสนิง หะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฟาตีมะห์ ปูเต๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.105,101.204place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ธ.ค. 2563 31 ธ.ค. 2563 25,650.00
รวมงบประมาณ 25,650.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยรุ่นต่างๆในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเด็กก่อนวัยเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมการพัฒนารอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กอายุ 1-4 ปี ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติมโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังเกิดจากพฤติกรรมการกินของเด็กที่มีผลต่อการกำหนดนิสัย และบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร จึงเล็งเห็นความสำคัญ ถึงปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 1-4 ปี โดยพบว่า การได้ข้อมูลปัญหาที่เป็นจริง จะทำให้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด จึงเน้นประเด็นการให้ความรู้ในผู้ปกครองและติดตามผลอย่างต่อเนื่องรายบุคคล ฝึกปฏิบัติการประกอบอาหารตามหลักโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย โดยคามหวังให้เด็กที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ที่เหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เด็กที่เข้าร่วมโครงการ มีเกณฑ์โภชนาการที่ดีขึ้น

เด็กที่เข้าร่วมโครงกรต้องมีภาวะโภชนาการผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80

0.00
2 2.ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาโภชนาการที่ดีขึ้น

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 25,650.00 3 25,650.00
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน ติดตามและประเมินผล 10 2,500.00 2,500.00
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง เรื่องปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็ก 1-4 ปี 20 14,300.00 14,300.00
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสาธิตการทำอาหารเด็กในกลุ่มผู้ปกครอง 20 8,850.00 8,850.00

1.สำรวจเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ 2.จัดทำโครงการฯ เสนอเพื่อขออนุมัติ 3.จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานประกอบด้วย นักโภชนาการ แพทย์แผนไทย พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อวางแผนการคัดกรองและอบรมให้ความรู้ กำหนดวันการคัดกรองและอบรมให้ความรู้ 4. ประสานกับ อสม. เพื่อชี้แจงผู้ปกครองเข้าร่วมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย 20 คน
5.กำหนดการจัดอบรมให้ความรู้ ผู้ปกครองเด็กที่เข้าร่วมโครงการ 6.ประเมินผลโครงการและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก ทุก 2 สัปดาห์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กที่เข้าร่วมโครงการ มีแนวโน้มโภชนาการตามเกณฑ์น้ำหนักต้อส่วนสูวที่ดีขึ้น 2.ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการเด็กที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563 11:12 น.