กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L1520-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.อ่าวตง
วันที่อนุมัติ 27 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 พฤศจิกายน 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 75,064.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรพล สุขาทิพย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 พ.ย. 2563 30 ก.ย. 2564 75,064.00
รวมงบประมาณ 75,064.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสีย ชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่มมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและอกชน พบว่าปัญหาโรคใช้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา     ตำบลอ่าวตงเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตรา ป่วยต่อประชากรแสนคน ในปี ๒๕๕9 – ๒๕๖3 (๑มค.-๓0 ก.ย.๖3) เท่ากับ 74.56,83.88,46.60, 288.94และ 44.74 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ ไม่มีผู้ป่วยตาย การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ขุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับสภาพภูมิอาการที่เปลี่ยนแปลง เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้ำยุงลายเจริญเติบโตได้ดี และข้อมูลทางวิชาการพบว่า ขณะนี้การเจริญเติบโตของลูกน้ำยุงลายกลายเป็นยุงใช้เวลาเพียง ๕ วัน จาก ๗ วัน ทำให้ปริมาณยุงตัวเต็มวัยเพิ่มมากขึ้น จึงคาดการณ์ว่าในปี 2564 อาจเกิดโรคระบาดของโรคไข้เลือดออก และหากมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกจากโรงพยาบาลต่างๆ หรือแม้แต่ในระบบการฝาระวังในพื้นที่ก็ต้องดำเนินการสอบสวนโรคและควบคุมโรคภายใน ๒ ชั่วโมงและพ่นสารเคมีรอบบ้านผู้ป่วยรัศมีอย่างน้อย ๑๐๐ เมตร เป็นจำนวน ๒ ครั้ง โดยมีระยะห่างกัน ๗ วัน เพื่อเป็นการตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรค     ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรค ไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่าวตง ได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปี 2564 ขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน ชุมชน เกิดความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย และวิธีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำเป็นการตัดวงจรพาหนะ นำโรคไข้เลือดออกได้ดีที่สุดและเป็นการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคได้แบบยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ โรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน Generation ที่ ๒

ร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน Generation ที่ ๒

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้น้อย กว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปีย้อนหลัง (พ.ศ. ๒๕๕9-๒๕๖3)

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปีย้อนหลัง (พ.ศ. ๒๕๕9-๒๕๖3) ร้อยละ ๒๐

0.00
3 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ไข้เลือดออกที่ถูกต้อง

ร้อยละ ๘๐ ของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ มี ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 75,064.00 3 75,064.00
27 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ควบคุมโรคไข้เลือดออกผ่านช่องทางสื่อต่างๆครอบคลุมพื้นที่เขตรับผิดชอบในโรงเรียน วัด สถานที่ราชการ หมู่บ้าน 0 12,864.00 12,864.00
27 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 0 1,300.00 1,300.00
27 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมทำลายลูกน้ำและยุงตัวแก่ 0 60,900.00 60,900.00
  1. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ทางกายภาพในชุมชน  โดยอาสาสมัครสาธารณสุข คณะกรรมการชุมชน นักเรียน และทีม SRRT
      2. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานควบคุมโรคผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมที่สุด
      3. จัดกิจกรรมรณรงค์ควบคุมโรคติดต่อตามฤดูกาลและโรคไข้เลือดออกในชุมชน วัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ
      4. จัดกิจกรรมประกวดหมู่บ้านปลอดลูกนำยุงลาย
      5. สนับสนุนการรณรงค์การกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยการวิธี 5 ป 1ข และใช้ทรายอะเบท สารกำจัดลูกน้ำยุงลาย
          - กิจกรรมเก็บขยะ 2 ข้างทาง   6. ควบคุมทำลายตัวแก่โดยการพ่นสารเคมีด้วยหมอกควัน หรือการพ่นฝอยละออง ขณะพบผู้ป่วยในช่วงการระบาดของโรคไข้เลือดออก
        - พ่นหมอกควันป้องกัน ในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด เดือนละ 1 ครั้ง (ตามแผนกิจกรรมแนบท้าย)   7. จัดประกวดครัวเรือน / หมู่บ้านต้นแบบโดยเกณฑ์การประกวดประกอบด้วย 5 ด้าน คือ   1) ด้านควบคุมโรค   2) ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม   3) ด้านความสะอาด   4) ด้านความร่วมมือ   5) ด้านการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น   8. การสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลาย โดยการให้ อสม.ต่างหมู่บ้านสำรวจ   9. สรุปปัญหาและข้อเสนอแนะ และประเมินผลการดาเนินงานทุกเดือน(War Room)
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราการป่วย/ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง ๒. ประชาชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและบ้านเรือน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ๓. ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก ๔. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2563 13:09 น.