กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลนครหาดใหญ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
รหัสโครงการ 64-L7258-3-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลนครหาดใหญ่
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 195,280.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประสิทธิ์ รัตนพรหมวุฒิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทย มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุสูงเป็นอันดับ 2ในอาเซียน รองจากประเทศ สิงคโปร์ โดยในปีพศ. 2558 ประเทศไทยมีประชากรอายุ ๖๐ ปื ขึ้นไป ร้อยละ 16 ซึ่งผู้สูงอายุร้อยละ 87.4 ดูแลตัวเองได้ ร้อยละ 11.3 พึ่งพาบ้าง และร้อยละ 1.3 พึ่งพาทั้งหมด โดยประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมสูงอายุตั้งแต่ ปี พ.ศ.2548 ในปีพศ. 2562 จะเป็นครั้งแรกที่ประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรเด็ก คือมีผู้สูงอายุ ร้อยละ 18 เด็กร้อยละ15.9 และในปี พศ 2564 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ คือมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ20 ของประชากรทั้งหมด และในปี พศ. 2574 ประเทศไทยจะมีอัตราส่วนของผู้สูงอายุ ร้อยละ 28 ของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ โครงสร้างประขากผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ พบว่า ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวมากขึ้นและมี จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยใน พศ. 2563 เทศบาลนครหาดใหญ่ มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุ ๖๐ปื ขึ้นไป จำนวน 25,734 คน (ข้อมูลจากสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครหาดใหญ่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563) คิดเป็นร้อยละ 16.50 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าเทศบาลนครหาดใหญ่ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วเช่นกัน สถานการณ์เหล่านี้นำมาสู่ ปัญหาของผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพอนามัย ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชนต้อง ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น และส่งเริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีความพร้อม ศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข มีศักดิ์ศรี เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ พึ่งพาตนเองได้ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ ไม่เหงา ไม่ซึมเศร้า ไม่ติดบ้านติดเตียงก่อนเวลาอันควร ด้วยการให้ความรู้และวิธีการในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยทั้งสุขภาพ ทางกาย สุขภาพจิต จิตปัญญารวมทั้งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงอายุในการปกป้องตนเองจากภัยรอบค้นด้วยการให้ ข่าวสาร ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลนครหาดใหญ่ ได้จัดตั้งขึ้นและกำกับดูแล โดยเทศบาลนครหาดใหญ่ ตามแนวคิดประชารัฐ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนในการดำเนินงาน ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูอายุในพื้นที่ ทั้งกลุ่มติดบ้าน กลุ่มติดเตียง และกลุ่มติดสังคม โดยได้ดำเนินงานดูแล ระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาศักยภาพ สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์เทศบาลนครหาดใหญ่ในการพัฒนาและ เสริมสร้างศักยภาพคน เสริมสร้างให้ประชาชนมีทักษะความรู้ ความสามารถและพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกด้าน มีความสุขครอบคลุมทั้ง ๕ มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง สุขสงบ ดังนโยบาย "หาดใหญ่ มหานครแห่งความสุข" ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาล นครหาดใหญ่ จึงได้ดำเนินโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลนครหาดใหญ่เพื่อส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขึ้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ผลการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ พศ. 2561 สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัดของ โครงการทุกข้อ ดังนี้ ๑) มีผู้เข้าร่วมโครงการเกินเป้าหมายที่กำหนด ๒ ผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ของเวลาอบรมทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 82.25 3.) ผู้ข้าร่วมโครงการเข้าร่วมทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ การช่วยเหลือสังคมและกิจกรรมจิตอาสาต่าง ๆ มากกว่า ๒ กิกรรม รวมทั้งหมด 14 ครั้ง ๔) ผู้เข้าร่วมโครงการมี ความรู้ความสามารถและทักษะในการดูแลตนเอง อยู่ในระดับมาก ๕) ผู้เข้าร่วมโครงการมีภาวะสุขภาพ ทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจและสังคมโดยรวม อยู่ในระดับมาก และผู้เข้าร่วมโครงการมีความสุขเมื่อได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิต มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ๖) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการ อยู่ในระดับมาก ผลการดำเนินงาน โครงกรส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ตามตัวชี้วัดของโครงการ ดังนี้ 1) ผู้ข้าร่วมโครงการมีความรู้ความสามารถในการจัดการและดูแลสุขภาพตนเองของ โดยรวมอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 86.84 โดยมีค่าเฉลี่ยโดย รวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผู้เข้าร่วม โครงการมีความสุขทั้ง ๕ มิติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.26 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ที่สุด ๔) ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าร่วมทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ การช่วยเหลือสังคมและกิจกรรมจิตอาสาต่าง ๆ มากกว่า ๒ กิจกรรม รวมทั้งหมด ๔ ครั้ง ๕) ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 81.84 มีความพึงพอใจต่อโครงการ โดยรวม อยู่ในระดับมาก-มากที่สุด ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พศ. 2563 ได้ดำเนินโครงการในระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 8 สัปดาห์ และได้ยกเลิกโครงการเนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า โครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลนครหาดใหญ่ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้ในทุกด้าน และช่วยให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและ ความสุข ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูอายุและคนพิการเทศบาลนครหาดใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลนครหาดใหญ่ ประจำปีงบประมาณ พศ. ๒๕๖๔ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และมีทักษะในการจัดการ ดูแลสุขภาพของตนเองเพิ่มขึ้น

ผู้สูงอายุเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ ๙๐

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความสุขครอบคลุม ๕ มิติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป มีความรู้ ความสามารถในการจัดการและดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด

0.00
3 เพื่อผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดูแลสุขภาพและเป็นจิตอาสาเพื่อสังคม

ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป มีความสุข ทั้ง๕มิติ ประกอบด้วย สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง และสุขสงบ อยู่ในระดับมาก-มากที่สุด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 585 90,312.15 10 90,312.15
5 ม.ค. 64 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนและสรุปผลการดำเนินงาน ฯ 25 625.00 625.00
18 ก.พ. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 70 23,601.00 23,601.00
25 ก.พ. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้สัปดาห์ที่ 2 70 10,100.00 10,100.00
4 มี.ค. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้สัปดาห์ที่ 3 70 10,100.00 10,100.00
11 มี.ค. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้สัปดาห์ที่ 4 70 9,500.00 9,500.00
18 มี.ค. 64 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้สัปดาห์ที่ 5 70 9,500.00 9,500.00
25 มี.ค. 64 กิจกรรมให้ความรู้สัปดาห์ที่ 6 70 8,300.00 8,300.00
1 เม.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้สัปดาห์ที่ 7 70 9,500.00 9,500.00
8 เม.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้สัปดาห์ที่ 8 70 8,300.00 8,300.00
19 เม.ย. 64 ถ่ายเอกสารประกอบการอบรม 0 786.15 786.15
  1. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา
  2. ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุฯ และคณะทำงานโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อเขียน โครงการ
  3. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการสปสช. เทศบาลนครหาดใหญ่เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
  4. ประขุมคณะกรรมการ/คณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  5. คณะกรรมการ/คณะทำงานแต่ละฝ่ายดำเนินงานตามแผน 6.ประชาสัมพันธ์โครงการและเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
  6. ดำเนินการตามโครงการ โดยจัดอบรมให้ความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพครอบทั้ง ๔ มิติ กาย จิต สังคม และ จิตวิญญาณ เป็นเวลา 18 สัปดาห์ (18 ครั้ง ๆ ละ 1 วัน)
  7. ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินโครงการให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่ทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับไปจัดการและดูแลสุขภาพของตนเองเพิ่มขึ้น 2.ผู้เข้าร่วมครงการมีสุขภพร่งกายที่แข็งแรง มีสุขภพใจที่ดี ไม่หงา ไม่ชีมเศร้า พึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุขครอบคลุม ๕ มิติ 3. ผู้สูงอายุเกิดการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน รวมทั้งเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เข้าร่วมเป็นจิต อาสาสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2563 15:48 น.