กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 64-L4120-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.บ้านซาไก
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 31 ตุลาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 15,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธนัทถา หมื่นวุ่นหนู
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฟาตีมะห์ ปูเต๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.105,101.204place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2563 31 ธ.ค. 2563 15,700.00
รวมงบประมาณ 15,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศ ไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็น อันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปาก มดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ - ๕๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็ง ปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องท้าการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษา ให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จ้าเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทาง ตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
    สถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ในเขตพื้นที่ รพ. สต.บ้านซาไก พบว่ากลุ่มเป้าหมาย 414 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี 2563 จำนวน 112 ราย ร้อยละ 27.05 ซึ่งเป้าหมายใน 5 ปี ต้องครอบคลุมให้ได้ร้อยละ 100 กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจฯจะเป็นกลุ่มที่ยาก ต่อการติดตามเข้ารับบริการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองกลุ่มป้าหมาย 35 ปีขึ้นไปจำนวน  486 ราย ได้รับการคัดกรองโดยตนเอง 436 ราย คิดเป็นร้อยละ 87.91 ( ข้อมูล HDC วันที่ กันยายน 2563) แต่จากการสุ่มที่ได้รับการประเมินจาก จนท. ผ่านการตรวจเพียงร้อยละ 20 สาเหตุไม่พบความผิดปกติ อาจเกิด จาก การตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้ง กลุ่มเป้าหมาย และ อสม. ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ดังนั้น ทีม อสม.เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านซาไก จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2564 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแบบยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20 (นับรายใหม่เพิ่มจากปีก่อน)

0.00
2 หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนร้อยละ 80

หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อกลุ่มเป้าหมายที่มีอาการผิดปกติได้รับการรักษาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ตามมาตรฐาน

กลุ่มเป้าหมายที่พบผิดปกติได้รับการรักษาร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 15,700.00 3 15,700.00
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 อบรบ อสม. และแกนนำจิตอาสาเพื่อเป็นแบบอย่างและนำความรู้และแชร์ประสบการณ์แก่ผู้อื่น 60 15,700.00 15,700.00
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมลงพื้นที่ให้ความรู้/ประเมินในหญิงวัยเจริญพันธ์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 0.00
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมรณรงค์และชักจูง/ติดตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อตรวจคัดกรอง 0 0.00 0.00

1.จัดประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 2.จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ พร้อมบันทึกข้อความในการปฏิบัติงาน 3.จัดอบรมให้ความรู้และประเมินความรู้ก่อนและหลังอบรมแก่กลุ่มเป้าหมายโดยเลือกกลุ่มที่เป็นแกนนำจิตอาสาที่สามารถถ่ายทอดความรู้และสามารถประเมินและสร้างแรงจูงในในการตรวจได้ 4.เยี่ยมติดตามให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ     5.ติดตามค้นหากลุ่มเป้าหมายมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม     6.ติดตามประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.และหญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้และมีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง       และมีความรู้เท่าทันเรื่องมะเร็งปากมดลูก 2.หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามมาตรฐาน อย่าง
      มีคุณภาพ 3.ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลด้วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ตามมาตรฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2563 13:20 น.