กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาอนามัยแม่และเด็ก
รหัสโครงการ 64-L4120-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาไก
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะยือรี หะแว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฟาตีมะห์ ปูเต๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.105,101.204place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2563 31 ธ.ค. 2563 15,700.00
รวมงบประมาณ 15,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์จนถึงหลังคลอด เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดที่ปลอดภัยทั้งแม่และเด็ก ตั้งแต่การดูแลทารกในครรภ์ที่สมบูรณ์ การดูแลแม่ขณะตั้งครรภ์ให้ปลอดภัยป้องการการเกิดภาวะเสี่ยง 5 โรค หรือในรายถ้ามีภาวะเสี่ยงให้ได้รับการตืดตามดูแลที่ถูกต้อง เพื่อการคลอดที่ปลอดภัยอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง โดยใช้หลัก ฝากครรภ์เร็วทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์ต่อเนื่องครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ มารดาทารกหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ มารดาที่มีภาวะเสี่ยง 5 โรค (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ โรคหัวใจ และโรคตกเลือดหลังคลอด)ได้รับการูแลจากทีมสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว มารดาที่ขาดนัดได้รับการติดตามโยเร่งด่วน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกินขณะตั้งครรภ์ได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย และต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ควรให้การเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พัฒนาชุมชนและสังคมให้สนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากข้อมูลในปี 2563 งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซาไก พบว่าหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 90.11 มาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 88.37 มารดาทารกหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 88.64 แม่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 2 ราย ขณะเป็นโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ แม้ว่าการดำเนินงานในปีที่แล้วมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ผลงานลดลง คือ การย้ายถิ่นฐาน เป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ที่เปลี่ยนทุกปี แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว คือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพและเสริมทักษะการดูแลหลังคลอดที่มีคุณภาพ เพื่อให้ทารกเกิดมามีพัฒนาการทุกด้านตามวัย การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซาไก ได้เล็งเห็นความสำคัญของดูแลที่ถูกวิธีเพื่อให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคตและยังเป็นการสร้างายใยรักความผูกผันของครอบครัว โดยชุมชน สมาชิกครอบครัวมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาแบบยั่งยืน ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์

หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 60

0.00
2 หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 60

0.00
3 มารดาทารกแรกเกิดได้รับการดูแลหลังคลอด

มารดาทารกแรกเกิดได้รับการดูแลหลังคลอดร้อยละ 80

0.00
4 มารดาที่มีภาวะเสี่ยง 5 โรคได้รับการดูแลจากทีมสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ

สาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพร้อยละ 100มารดาที่มีภาวะเสี่ยง 5 โรคได้รับการดูแลจากทีมสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 2.จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ พร้อมบันทึกข้อความในการปฏิบัติงาน 3.จัดอบรมให้ความรู้และประเมินความรู้ก่อนและหลังอบรมในกลุ่ม อสม.(ทีมติดตามเป้าหมายพร้อมเจ้าหน้า) ครอบครัวหญิงตั้งครรภ์ สามี สมาชิในครอบครัว ชุมชนผู้ที่ผลักดันและเป็นผู้ทรงคุณวุฒที่ชุมชนให้การนับถือและเชื่อใจ 4.ติดตามค้นหากลุ่มตั้งครรภ์รายใหม่ หรือกลุ่มจรที่ฝากครรภ์ไม่ต่อเนื่อง     5.เยี่ยมติดตามให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงและขาดนัด     6.ติดตามประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 60 2หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 60 3.มารดาทารกแรกเกิดได้รับการดูแลหลังคลอดร้อยละ 80     4.มารดาที่มีภาวะเสี่ยง 5 โรคได้รับการดูแลจากทีมสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2563 13:23 น.