กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังโภชนาการโรงเรียนบ้านวังพา
รหัสโครงการ ปี2564-L5275-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านวังพา
วันที่อนุมัติ 30 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2564
งบประมาณ 61,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทรงพล อารมณ์เย็น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 54 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการที่ดี เป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีตลอดชีวิตโดยเฉพาะในช่วงที่มีการเจริญเติบโตตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงวัยรุ่น เนื่องจากการเจริญเติบโตมีทั้งด้านสมองและร่างกาย หากขาดอาหาร สิ่งที่พบเห็นคือ เด็กตัวเล็ก ผอม เตี้ย ซึ่งเป็นการแสดงออกทางด้านร่างกาย แต่ผลที่เกิดขึ้นมิใช่แค่เพียงด้านร่างกายเท่านั้น ยังมีผลต่อการพัฒนาสมองด้วยทำให้สติปัญญาต่ำ เรียนรู้ช้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ประสิทธิภาพการทำงานจะต่ำ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ  (ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล  กองโภชนาการ กรมอนามัย )       เมื่อพูดถึงการเจริญเติบโตของเด็ก หลายคนเข้าใจว่า ดูได้จากน้ำหนักและส่วนสูง ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ส่วนสูงแสดงถึงการเจริญเติบโตได้ดีกว่าน้ำหนัก เนื่องจากการเจริญเติบโตด้านส่วนสูงเป็นผลจากความสมดุลของการได้รับสารอาหารปริมาณมาก คือ พลังงานและโปรตีน ในขณะเดียวกันยังเกี่ยวข้องกับสารอาหารปริมาณน้อย คือ วิตามินและแร่ธาตุบางชนิด เช่น แคลเซียม สังกะสี ไอโอดีน วิตามินเอ เป็นต้น       ปัจจุบันนักเรียนส่วนใหญ่มีน้ำหนักมากกว่าปกติ ซึ่งถือได้ว่าเข้าสู่สภาวะโรคอ้วน มีผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน มีหลายสาเหตุที่ทำให้นักเรียนเป็นโรคอ้วนได้ สาเหตุแรกอาจมาจากกรรมพันธุ์ การออกกาลังกายน้อยเกินไป กินอาหารมากเกินไป กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์และเป็นอาหารที่ทำให้อ้วน นักเรียนบางคนมีสาเหตุมาจากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น
      ภาวะพร่องโภชนาการและภาวะโภชนาการเกินเป็นปัญหาสำคัญอันดับ 4 ในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ควรแก้ไขโดยสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในปีงบประมาณ 2553 พบประชากรมีภาวะพร่องโภชนาการอย่างน้อย 280,000 ราย ขณะที่ภาวะโภชนาการเกินประมาณ 400,000 ราย ปี 2554 รายงานจากการสำรวจการรับประทานอาหารของคนไทยในระดับประเทศพบว่า นักเรียนและวัยรุ่นอายุ 3-18 ปี มีความชุกของภาวะน้ำหนักเกิน 7.6% และโรคอ้วน 9.0%
      จากการสำรวจข้อมูลภาวะโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังพา ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 ถึงปัจจุบัน พบว่ามีนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 15.5 นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ(ผอม) จำนวน 9 คนคิดเป็นร้อยละ 4.5 และนักเรียนที่เตี้ย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 7.00 ซึ่งเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขเพื่อให้นักเรียนมีสุขภาวะทีดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทางโรงเรียนบ้านวังพา จึงขอเสนออนุมัติ “โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
โรงเรียนบ้านวังพา” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน รู้จักการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตัวเอง

ร้อยละ 100 นักเรียนรู้จักการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตัวเอง

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น

ร้อยละ10 นักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนเห็นความแตกต่างของการมีสุขภาพที่ดี

ร้อยละ 80 นักเรียนเห็นความแตกต่างของการมีสุขภาพที่ดี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 124 61,880.00 3 0.00
1 - 31 ธ.ค. 63 จัดประชุมวางแผนการดำเนินงานติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 16 400.00 0.00
1 - 31 ธ.ค. 63 อบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในวัยเด็ก 54 5,130.00 0.00
1 ธ.ค. 63 - 30 เม.ย. 64 แก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 54 56,350.00 0.00

(1) การเตรียมงาน 1.1 แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงานโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ โรงเรียนบ้านวังพา 1.2 จัดประชุมวางแผนการดำเนินงาน ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน (2) กิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียน ทุกๆ 1 เดือน (3) อบรมให้ความรู้ เรื่องภาวะทุพโภชนาการในเด็ก ณ โรงเรียนบ้านวังพา จำนวน 1 ครั้ง       3.1 กลุ่มนักเรียน    - กลุ่มที่มีภาวะโภชนาการเกิน ( กลุ่มอ้วน 31 คน )                     - กลุ่มทุพโภชนาการ ( กลุ่มผอม 9 คน )                     - กลุ่มเตี้ย 14 คน       3.2 กลุ่มผู้ปกครอง จำนวน 54 คน (4) แก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก         กลุ่ม (อ้วน) จำนวน 31 คน     - จัดกิจกรรมทางกายให้นักเรียนทำกิจกรรมลดเนือย/นิ่ง เช่น การทำแปลงปลูกผัก ปลูกดอกไม้ ทำสวนหย่อม เป็นต้น
    - นักเรียนออกกำลังกายโดยการเต้นบาซาโลบ /แอร์โรบิค  ทุกวัน ช่วงเวลา 14.30-15.30 น.         กลุ่ม( ผอม) จำนวน 9 คน     - จัดทำแบบสอบถาม สำรวจฐานะทางบ้าน และอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน     - จัดสนับสนุนอาหารเช้า ( เมนูอาหารแนบท้ายโครงการ ) จำนวน 90 วัน     - จัดอาหารว่างช่วงเวลา 14.00น. (นม/ผลไม้/ขนม) จำนวน 90 วัน         กลุ่ม (เตี้ย ) จำนวน 14 คน - ออกกำลังกายโดยใช้วิธีการกระโดดเชือก    ช่วงเวลา 14.30-15.30 น. ( 5)  สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานสรุปคืนข้อมูลให้ผู้ปกครองและคณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1)  นักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีสุขภาพร่างกายที่ดี (2)  นักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น (3)  นักเรียนรู้จักการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักสุขภาวะได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 09:01 น.