กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ต้านภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L8022-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุ
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 54,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกัญเปมฐิษา แกล้วทนงค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 78 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเดงกี เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 30 ปีที่ผ่านมา มากกว่า 100 ประเทศที่โรคนี้กลายเป็นโรคประจำถิ่น และโรคนี้ยังคุกคามต่อสุขภาพของประชากรโลกมากกว่าร้อยละ 40 (2,500 ล้านคน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะพบมากในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น ซึ่งในช่วงฤดูฝนมักมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย สาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดจากเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ (Dengue) เชื้อไวรัสชิคุนกุนย่า(Chikungunya) เป็นสาเหตุของโรคซึ่งปัจจุบันจากการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการพบว่าเชื้อไวรัสเด็งกี่มี 4 ชนิดเชื้อดังกล่าวสามารถทำให้เลือดออกรุนแรงได้ดังนั้นเมื่อเชื้อตัวใดตัวหนึ่งเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อตัวนั้นอย่างถาวรและยังต่อต้านข้ามไปเชื้ออื่นๆอีก 3 ชนิดแต่อยู่ไม่ถาวรโดยทั่วไปอยู่ได้นาน 6-12 เดือน หลังระยะนี้แล้วคนที่เคยติดเชื้อเด็งกี่ชนิดหนึ่ง อาจติดเชื้อเด็งกี่ชนิดอื่นต่างจากครั้งแรกก็ได้ถือเป็นการติดเชื้อครั้งที่สอง การติดเชื้อซ้ำๆเชื่อกันว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออกถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากเพราะมีผู้ป่วยป่วยและตายจำนวนมากในแต่ละปีเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะการระบาดตลอดปีและพบมากในช่วงฤดูฝนยุงลายชอบวางไข่ในแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าว เป็นต้น และยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือนและโรงเรียน กรมควบคุมโรค ฉบับที่ 270 ประจำสัปดาห์ที่ 28 (วันที่ 12-18 ก.ค. 2563) โดย นายแพทย์สุวรรณชัยวัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค “จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-8 ก.ค. 63 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 25,708 ราย เสียชีวิต 15 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15-24 ปี รองลงมาคือ 10-14 ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับจากข้อมูลการกระจายของผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยมีการกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยภูมิภาคที่พบอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ ชัยภูมิ รองลงมาคือระยอง ขอนแก่น แม่ฮ่องสอน และนครราชสีมา ตามลำดับ” และสถานการณ์ไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุ ปี 2563มีผู้ป่วยไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง กระจายในพื้นที่ หมู่ที่ 8 จำนวน 2 ราย และหมู่ที่ 9 จำนวน 1 ราย ไข้เลือดออกจึงเป็นปัญหาสาธารณสุขอีกโรคหนึ่งที่สำคัญ ต้องป้องกันและรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุ ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด5 หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด 8,107 คนจำนวนหลังคาเรือนที่รับผิดชอบทั้งหมด 2,345 หลังคาเรือน ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ต้านภัยโรคไข้เลือดออกปี ๒๕64 ขึ้นโดยมีกลวิธีการดำเนินงานที่สำคัญ คือ พัฒนากระบวนการ องค์ความรู้และทักษะในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกการกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงลายซึ่งเป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกเพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงเป็นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น จึงจำเป็นที่เราจะต้องป้องกันและรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยวิธีกำจัดลูกน้ำยุงลายและกำจัดตัวยุงลายทั้งวิธีกายภาพและชีวภาพและทางเคมีในบ้านวัดและโรงเรียนดังนั้นโอกาสที่จะเกิดไข้เลือดออกก็จะลดน้อยลงด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนทุกครัวเรือน มีความรู้และตระหนักในควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนทุกครัวเรือน มีความรู้และตระหนักในควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกร้อยละ 80

100.00 80.00
2 ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายของหมู่บ้าน/ชุมชน มีค่า HI 10 และโรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก/สถานบริการสาธารณสุข มีค่า CI = 0

ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ 80 ของหมู่บ้าน/ชุมชน มีค่า HI 10 ร้อยละ 80 ของโรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก/สถานบริการสาธารณสุขมีค่า CI = 0

100.00 80.00
3 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทั้งหมดและกลุ่มเด็กวัยเรียนลดลง

อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในประชากรทั้งหมดและกลุ่มเด็กวัยเรียนลดลงอย่างน้อย ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากรติดต่อกันอย่างยั่งยืนอย่างน้อย 2 ปี

100.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 54,450.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย (หมู่ที่ 3 ,8,9,10,11) 0 49,500.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมรณรงค์ต้านภัยไข้เลือดออกปี 2564 ในชุมชน (หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 11) 0 4,950.00 -
1 - 30 ก.ย. 64 สรุปและประเมินผลโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย ของหมู่บ้าน/ชุมชน มีค่า HI 10 และโรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก/สถานบริการสาธารณสุขมีค่า CI = 0
  3. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทั้งหมดและกลุ่มเด็กวัยเรียนลดลง
  4. มีการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในพื้นที่อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 13:37 น.