กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค
รหัสโครงการ 64-L1460-01-007
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคี่ยม
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 19,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณรงค์ เบ็ญสอาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.338,99.515place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) แมลงเป็นสัตว์ที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก คาดคะเนว่ามีแมลงทั้งหมดประมาณ 5 ล้าน ชนิด บางชนิดเป็นพาหะของโรคที่สำคัญทางสาธารณสุข เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขต เส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการขยายพันธุ์และการเจริญเติบโต ของแมลง จึงต้องเผชิญกับโรคต่างๆ ที่มีแมลงเป็นพาหะ เช่น ไข้เลือดออก ไข้ชิคุนกุนยา ไข้สมองอักเสบ มาลาเรีย โรคเท้าช้าง โรคไทฟอยด์อหิวาตกโรค โรคภูมิแพ้ต่าง ส่วนสัตว์นำโรคได้แก่สุนัข ก็ยังเป็นปัญหาของโรคพิษสุนัขบ้า สัตว์และแมลงนำโรคอื่นๆ ได้แก่ แมลงวันเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้ทุกชนิด หาอาหารตามกองขยะ เศษอาหาร ซากสัตว์ อุจจาระของมูลสัตว์ ทำให้เกิดเชื้อโรคต่างๆ เช่นอุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค รวมทั้งไข่ของพยาธิ ซึ่งสามารถติดมากับแมลงวันได้ โดยติดมากับขนตามตัว ขนที่ขาหรือเชื้อโรค ปะปนมากับของเหลวในกระเพาะอาหาร และระบบทางเดินอาหารแมลง ทางด้าน มดเป็นสัตว์ที่มีนิสัยการกินอาหารไม่เลือก ถ้าหากเป็นอาหารที่เป็นของแข็ง มดจะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยให้อาหารละลายก่อนแล้วจึงกินเข้าไป เนื่องจากนิสัยที่กินอาหารไม่เลือกและเดินไปทุกหนทุกแห่ง ทำให้เป็นโอกาสอันดีให้เชื้อโรคปนเปื้อนจากบริเวณที่มดเดินผ่านติดไปกับขาและขนขา เข้าไปสู่อาหารนั้นๆ ได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีหนูนอกจากจะเป็นตัวกัดแทะทำความเสียหายแก่เครื่องอุปโภคบริโภคแล้ว ยังพบว่าหนูเป็นพาหะที่สำคัญในการแพร่โรค เช่น โรคซาลโมเนลโลซีส โรคกาฬโรค โรคพิษสุนัขบ้า โรคบิดมีตัว โรคฉี่หนู โรคพยาธิต่างๆ เป็นต้น
สถานการณ์สัตว์และแมลงนำโรคที่สำคัญ ได้แก่ ยุงพาหะซึ่งนำเชื้อ โรคไข้เลือดออก สถานการณ์ในประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2563 จาก รง. 506 กองระบาดวิทยา) พบผู้ป่วย 59,842 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 90.10 ต่อแสนประชากรพบผู้เสียชีวิต 38 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.06 ต่อแสนประชากรกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 15-24 ปี (26.06 %) 10-14 ปี (21.91 %) 25-34 ปี (13.52 %) ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ116.71 ต่อแสนประชากร ภาคเหนือ 101.40 ต่อแสนประชากรภาคกลาง 73.43 ต่อแสนประชากร ภาคใต้ 53.94 ต่อแสนประชากร ตามลําดับ พื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคี่ยม เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก ที่ผ่าน มามีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกใน ปี พ.ศ.2562 จำนวน 12 ราย คิดเป็น 313 .40 ต่อแสนประชากร ซึ่ง พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากกว่า 50 ต่อแสนประชากรมากกว่าที่กระทรวงสาธารณสุขได้กําหนดไว้ แต่ในปี 2563 จนถึงวันนี้ ยังไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก แต่การสำรวจลูกน้ำยุงลาย พบว่ายังมีความเสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออกสูง โดยพบว่า ในเดือนกันยายน 2563 พบค่า HI เท่ากับ 33  สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ( HI ไม่เกิน 10 )
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคี่ยมจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค ซึ่งเป็นโครงการที่ชุมชนได้ทำประชาคมให้ความสำคัญและต้องการแก้ปัญหา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีคณะกรรมการจัดการและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค เพื่อส่งเสริมให้มีการแยกขยะเปียกเพื่อควบคุมสัตว์และแมลงนำโรคนอกจากสามารถลดแมลงและสัตว์นำโรคลงแล้ว ยังสามารถลดปริมาณขยะที่ใส่ในถังขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลกันตังใต้ ลดงบประมาณในการกำจัดขยะจำนวนมาก ลดเศษอาหารให้สัตว์ที่มาหากินคุ้ยเขี่ยได้แก่ แพะ และสุนัข ทำให้เศษขยะเกลื่อนกลาดไม่เรียบร้อย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ชุมชนมีคณะกรรมการจัดการและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมสัตว์และแมลงนำโรคแยกตามโซน

1.มีคณะกรรมการจัดการและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค และมีกิจกรรมครอบคลุมทุกกลุ่มโซน

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค

2.มีบ้านตัวอย่างในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค

0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้มีการแยกขยะเปียกเพื่อควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค

3.มีจุดสาธิตการแยกขยะเปียก3 จำนวน 50 หลัง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 210 19,200.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 กิจกรรมที่ ๑ ขั้นเตรียมการ 70 8,600.00 -
1 ก.พ. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินการ 70 10,600.00 -
1 - 15 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 3.สรุปโครงการ 70 0.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ 2. ประชุมวางแผน เพื่อกำหนดรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 3. ประชุมชี้แจงแนวทางการจัดการและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมสัตว์และแมลงนำโรคในครัวเรือน แก่แกนนำและผู้นำชุมชนและคัดเลือกบ้านต้นแบบ 4. จัดหาสื่อ เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม 5. แต่งตั้งคณะกรรมการ ด้านจัดการและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมควบคุมสัตว์และแมลงนำโรคในแต่ละกลุ่มบ้าน 6. ดำเนินการประชาสัมพันธ์การรับสมัครครัวเรือนผู้เข้าร่วมโครงการในบ้านต้นแบบในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมควบคุมสัตว์และแมลงนำโรคและกำหนดแนวทางในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของบ้านเรือนให้เหมาะสม
7. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการในการจัดการและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค 8. ประกาศเกียรติคุณบ้านที่เข้าร่วมโครงการและสามารถเป็นบ้านต้นแบบการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค 9. ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีส่วนร่วมและมีกิจกรรมต่อเนื่องในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 14:43 น.