กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพลังกาย พลังจิต ในผู้สูงอายุตำบลเขาไพรและแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกสถานที่ ประจำปี 2564
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเขาไพร สูงวัย เสริมสุข
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2564 - 15 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประเสริฐ ดำสีแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นายสราวุธ พรหมมินทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลองค์การสหประชาชาติ คาดการณ์ว่า ช่วงปี ค.ศ 2001 – ค.ศ. 2100 ( พ.ศ.2544-2643 ) จะเป็นศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ โลกจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่ละประเทศจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแตกต่างกันไป ตามสภาพแวดล้อม เช่น การพัฒนาด้านการแพทย์ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และโภชนาการทางด้านอาหาร และสถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทยของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ พบว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ คือ มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี ขึ้นไป) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2561 โดยมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก และคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด  นอกจากนี้จากการจัดอันดับของประเทศในเอเชีย ที่มีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรผู้สูงอายุในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์  ดังนั้นการมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะมาถึง  เพราะผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคต่างๆสาเหตุมาจากความเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกายและโรคประจำตัวเรื้อรัง  ซึ่งต้องได้รับการดูแลที่แตกต่างไปจากผู้ป่วยในกลุ่มอื่น  นอกจากนี้การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุอาจเกิดขึ้นกับอวัยวะต่างๆ ในเวลาเดียวกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น  ผู้สูงอายุควรดูแลตนเองให้แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจตั้งแต่อายุน้อยเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่แข็งแรงและมีความสุข  นอกจากสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นแล้ว  ยังมีอีกตัวบ่งชี้หนึ่ง ที่แสดงถึงการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว นั่นคือ “ดัชนีการสูงวัย” (Aging index) ซึ่งแสดงถึงการเปรียบเทียบ  โครงสร้างการทดแทนกันของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี ขึ้นไป) กับกลุ่มประชากรวัยเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี ) โดยดัชนีการสูงวัยมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าจำนวนประชากรสูงอายุมีน้อยกว่าจำนวนเด็ก  แต่ในทางตรงข้ามถ้าดัชนีมีค่าเกินกว่า 100 แสดงว่าจำนวนประชากรสูงอายุมีมากกว่าจำนวนประชากรเด็ก และปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” ในอีก ๘ ปีข้างหน้าหรือปี 2564 ที่จะมีถึง 1 ใน 5 จากที่ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาแล้ว ตำบลเขาไพร มีผู้สูงอายุจำนวน 286 คน คิดเป็นร้อยละ 12.90 จากจำนวนประชากรทั้งหมดของตำบลเขาไพร จึงต้องมีการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ  เพื่อให้ผู้สูงอายุในตำบล เขาไพร ได้ดูแลตนเองและไม่เป็นภาวะพึ่งพิงกับลูกหลาน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพลังกาย พลังจิต ในผู้สูงอายุตำบลเขาไพรและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นอกสถานที่ประจำปี 25๖4

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีให้ผู้สูงอายุ โดยสร้างขึ้นผ่านกิจกรรมทางโรงเรียนผู้สูงอายุ

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนได้

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเข้าสังคม และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมหารือคณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุและสมาชิกโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเขาไพร
2. เพื่อสำรวจกิจกรรมที่สมาชิกต้องการจะทำในกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ
3. เขียนแผนงาน/โครงการเสนอ กองทุนฯ เพื่อขออนุมัติโครงการ
4. จัดกิจกรรม ดำเนินงานโครงการฯตามแผนงาน/โครงการ 5. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจของตนเอง
  2. ผู้สูงอายุตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้คุณค่าของตนเอง
  3. ผู้สูงอายุมีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2563 10:58 น.