กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนร่วมใจคัดแยกขยะอันตราย ประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L7252-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเดา
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มกราคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเดา
พี่เลี้ยงโครงการ นายเลิศฤทธิ์ จันทร์สุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชน เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 3 แสนตันต่อปี ซึ่งถูกทิ้งรวมไปกับขยะมูลฝอยทั่วไป และนำไปกำจัดที่สถานกำจัดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นแหล่งรองรับขยะมูลฝอยทั่วไป สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเหล่านี้ไม่ได้ออกแบบไว้เพื่อรองรับของเสียอันตราย ทำให้สารพิษจากเสียอันตรายปนเปื้อนสู่ดินและน้ำใต้ดิน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อม (ที่มา:กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) สารเคมีที่พบในขยะอันรายในปัจจุบันประกอบไปด้วย 1) สารปรอท พบใน หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดนีออน กระจกส่องหน้า 2) สารตะกั่ว พบใน แบตเตอรี่รถยนต์ ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ตะกอนสีหมึกพิมพ์ ฯลฯ 3) สารแมงกานีส พบใน ถ่านไฟฉาย ตะกอนสีเครื่องเคลือบดินเผา 4) สารแคดเมียม พบใน ถ่านนาฬิกาควอตซ์ 5) สาฟอสฟอรัส พบใน ยาเบื่อหนู ตะกอนสี ฯลฯ 6) สารเคมีประเภทอื่นๆ ผลิตภัณฑ์ที่พบ สเปรย์ ยาย้อมผม ยาทาเล็บ ยาล้างเล็บ ยาฆ่าแมลง ยารักษาโรค ยากำจัดวัชพืช สารเคมีเหล่านี้ล้วนแล้วก่อผลเสียต่อสุขภาพหากเกิดการปนเปื้อนมายังแหล่งสาธารณูปโภคในพื้นที่ รัฐบาลยุคปัจจุบัน (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ได้มีนโยบายการจัดการขยะทั่วไป และการจัดการขยะอันตราย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงมหาดไทยเป็นตัวขับเคลื่อนหลักเพื่อแก้ไขปัญหาขยะ โดยตั้งเป็นนโยบาย “จังหวัดสะอาด” มอบหมายมายังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการจัดการขยะอันตราย โดยต้องจัดให้มีจุดรับขยะอันตรายทุกชุมชน และมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงจัดโครงการชุมชนร่วมใจ คัดแยกขยะอันตราย ประจำปีงบประมาณ 2560 เพื่อส่งเสริมความรู้ ความตระหนักจากปัญหาขยะอันตรายจากชุมชน สามารถคัดแยก และรวบรวมขยะอันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ชุมชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสะเดา มีจุดการคัดแยกขยะอันตรายประจำชุมชนทุกชุมชน และที่สำคัญเพื่อลดความเสี่ยงการปนเปื้อนของสารเคมีในขยะอันตรายสู่แหล่งสาธารณูปโภค ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสะเดาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อส่งเสริมความรู้ ความตระหนักในการร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะอันตรายจากชุมชน สามารถคัดแยก และรวบรวมขยะอันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1) ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากผู้ทำแบบทดสอบทั้งหมด 2) ชุมชนแต่ละชุมชน มีจุดรับขยะอันตรายทุกชุมชน คิดเป็นร้อยละ 100 3) มีการรวบรวมข้อมูลปริมาณขยะอันตรายจากชุมชนเป็นระบบ ง่ายต่อการสืบค้น และนำไปเป็นฐานข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในอนาคตได้

2 2) เพื่อให้ชุมชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสะเดา มีจุดการคัดแยกขยะอันตรายประจำชุมชนทุกชุมชน

 

3 3) เพื่อลดความเสี่ยงการปนเปื้อนของสารเคมีในขยะอันตรายสู่แหล่งสาธารณูปโภค ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสะเดา

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1) ศึกษาสภาพปัญหา วางแนวทางการดำเนินโครงการฯ ร่างกิจกรรมการดำเนินโครงการเบื้องต้น 2) ปรึกษาคณะทำงาน และร่างรายละเอียดเบื้องต้นในการดำเนินโครงการชุมชนร่วมใจ คัดแยกขยะอันตราย ประจำปีงบประมาณ 2560 3) เขียนโครงการฉบับสมบูรณ์ เสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดา เพื่อของบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน 4) ขั้นตอนการดำเนินโครงการ โดยแบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมคณะกรรมการชุมชนทั้ง 19 ชุมชน จำนวนผู้เข้าร่วมอมรมตั้งไว้ 100 คนเพื่อส่งเสริมความรู้ สร้างความตระหนักในการแก้ปัญหาขยะอันตรายจากต้นทาง และมอบหมายให้คณะกรรมการชุมชนนำหลักปฏิบัติไปประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจร่วมกันของสมาชิกแต่ละชุมชน
กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งศูนย์รับขยะอันตรายแต่ละชุมชน เพื่อรองรับขยะอันตรายจากครัวเรือนในชุมชนนั้นๆ และส่งรวบรวมมายังเทศบาลเมืองสะเดา เพื่อดำเนินการส่งให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 จังหวัดสงขลา เพื่อดำเนินการกำจัดให้ถูกหลักสุขาภิบาลต่อไป 5) รวบรวมข้อมูลปริมาณขยะอันตราย จัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลขยะอันตรายของเทศบาลเมืองสะเดา 6) รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) มีผู้เข้าร่วมอบรมตามโครงการจากชุมชนทั้ง 19 ชมชน ไม่น้อยกว่า 100 คน 2) ชุมชนแต่ละชุมชน มีจุดรับขยะอันตรายทุกชุมชน
3) มีฐานข้อมูลปริมาณขยะอันตรายของแต่ละชุมชน สะดวกต่อการนำไปใช้งาน และนำไปพัฒนาการดำเนินงานในอนาคต

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2560 10:35 น.