กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพระยา ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-l5261-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพระยา
วันที่อนุมัติ 11 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 115,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปราณี ยกล่อง ผู้ช่วยเลขานุการกองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพระยา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 ม.ค. 2560 11 ม.ค. 2560 4,400.00
2 6 มิ.ย. 2560 6 มิ.ย. 2560 4,800.00
รวมงบประมาณ 9,200.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (9,200.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (115,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชนกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (3)มาตรา 18 (4) (8) (9) และมาตรา 47 ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสาน และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้คณะกรรมการบริหารกองทุนเข้าใจวัตถุประสงค์การบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เข้าใจแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจนบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการร่วมเป็นคณะกรรมการ ตามประกาศฉบับใหม่ พ.ศ. 2557

เกิดกองทุนที่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องโปร่งใสและเป็นธรรม จำนวน1กองทุนในเขต12สงขลา

2 .2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการกองทุน คณะทำงาน มีความรู้ ความเข้าใจในการอนุมัติการกลั่นกรอง แนวทางการดำเนินงานติดตามโครงการกิจรรมเป็นไปในทิศทางเดียวกันในบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เกิดคณะกรรมการบริหารกองทุนที่มีการพัฒนาตนเองในการบริหารจัดการงานกองทุน
หลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ เทศบาลตำบลท่าพระยาจำนวน16คน

3 3 เพื่อให้คณะกรรมการบริหารกองทุนได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เรียนรู้กรณีศึกษาต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา และบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
6 ม.ค. 60 ประชุมคณะกรรมการ 11 4,400.00 -
12 มิ.ย. 60 ประชุมคณะกรรมการ 12 4,800.00 -
รวม 23 9,200.00 0 0.00

1.ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานปีงบประมาณ2560 2.จัดทำแผนงาน แผนรายจ่ายแผนการประชุมประจำปีงบประมาณ2560 3.ดำเนินการตามกิจกรรมตามแผนการประชุม 4.จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการ
5.ติดตามและประเมินผลโครงการ 6.สรุปผลการดำเนินงาน
- ผู้รับผิดชอบโครงการคณะกรรมการบริหารกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพระยา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1คณะกรรมการกองทุน อนุกรรมการ เข้าใจวัตถุประสงค์แนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจนบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการร่วมเป็นคณะกรรมการตามประกาศฉบับใหม่ พ.ศ. 2557และการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2คณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการกองทุน คณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจ ในการอนุมัติการกลั่นกรอง แนวทางการดำเนินงานติดตามโครงการกิจรรมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 3คณะกรรมการบริหารกองทุนได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เรียนรู้กรณีศึกษาต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา และบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลท่าพระยาเกิดการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องโปร่งใส เป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาลมากยิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2560 10:40 น.