กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาศักยภาพกรรมการ และพัฒนาระบบบริหารจัดการประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L5198-4-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ทับช้าง
วันที่อนุมัติ 20 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 67,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขากองทุนฯ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.586,100.695place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระบบท้องถิ่นหรือพื้นที่หรือกองทุน อปท. เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและภาคีภาคส่วนต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ทั่วถึงมากขึ้น รวมถึงสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคม ที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง จากการดำเนินงานของกองทุนที่ผ่านมา พบว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพกองทุนและคณะกรรมการกองทุน โดยเฉพาะในเรื่องการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่มพูนความรู้และการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนที่จะทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและจิต ดังนั้นคณะกรรมการจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาความรู้ สร้างจิตสำนึกร่วมกัน ร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมกันบริหารจัดการกองทุน ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทับช้าง จึงมีความประสงค์จัดโครงการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาศักยภาพกรรมการ และพัฒนาระบบบริหารจัดการประจำปี 2564 เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ให้คณะกรรมการกองทุนฯ ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อการสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิผล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

1.มีการใช้เงินในการพัฒนาศักยภาพ เจ้าหน้าที่กองทุนฯ

0.00
2 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

1.จำนวนเงินที่สนับสนุนโครงการแก่กลุ่มประชาชน หรือองค์กรประชาชน เพิ่มขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,350.00 9 39,200.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 0 1,600.00 1,600.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะกรรมการ ครัง้ที่ 3 และทีมพี่เลี้ยง 0 12,150.00 6,000.00
17 ธ.ค. 63 ประชุมคณะอนุกรรมการLTC ครั้งที่ 1 0 3,250.00 3,250.00
19 ม.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1 0 8,500.00 8,500.00
19 ก.พ. 64 ประชุมคณะอนุกรรมการLTC ครั้งที่ 2 0 3,250.00 3,250.00
23 ก.พ. 64 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 0 1,600.00 1,600.00
24 ก.พ. 64 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2 0 8,500.00 8,500.00
19 เม.ย. 64 ประชุมคณะอนุกรรมการLTC ครั้งที่ 3 0 3,250.00 3,250.00
27 ส.ค. 64 ประชุมคณะอนุกรมการ LTC ครั้งที่ 4 0 3,250.00 3,250.00

1.จัดทำโครงการ 2.คณะกรรมการของกองทุนฯ ได้ร่วมกันจัดทำแผนงานประจำปี2564 3.ติดต่อประสานงานทีมพี่เลี้ยงของกองทุนฯ คณะทำงานและคณะกรรมการของกองทุนฯเพื่อนัดหมายการประชุมอนุมัติโครงการต่างๆ 4.จัดการประชุมพิจารณาโครงการตามแผนที่กำหนดไว้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุนมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น 2.ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิผล 3.คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2563 09:56 น.