กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการ ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนังจังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ L640106
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอมะนัง อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 18 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 พฤศจิกายน 2563 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 46,825.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภูรณ โต๊ะประดู่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 260 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10660 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยและผู้สงสัยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด (คน)
53.00
2 อัตราป่วยเท่ากับ(ต่อแสนประชากร )
554.33
3 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
30.00
4 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
10,660.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever-DHF) ทีมียุงลายเป็นแมลงนำโรคและเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic Area)
ของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2563 ข้อมูลการเฝ้าระวังโรค 506 ณ วันที่ 26 พฤศจิกาย พ.ศ. 2563 พบว่า โรคไข้เลือดออก
มีผู้ป่วยสะสม 38,004 ราย อัตราป่วย 57.32 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเสียชีวิต 27 ราย อัตราป่วยร้อยละ 0.07 โดยมีบางจังหวัดมีแนวโน้มสูงตั้ง แต่ก่อนเข้าฤดูฝน ในขณะที่บางจังหวัดเริ่มมีแนวโน้มของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าฤดูฝน จังหวัดสตูล
มีรายงานผู้ป่วยสะสม รวม 50 ราย อัตราป่วย 15.59 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ
อำเภอมะนัง มีอัตราป่วย 33.14 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ อำเภอท่าแพ อำเภอควนกาหลง อำเภอควนโดน อำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า อัตราป่วย 23.97 , 20.13 , 15.77 , 15.18 , 9.72 และ 4.16ต่อแสนประชากรตามลำดับ ส่วนโรคไข้ปวดข้อยุงลายมีผู้ป่วยสะสม 5,728 ราย มีอัตราการป่วย 8.64 ต่อประชาการแสนคน มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นทุกภาค โดยเฉพาะจังหวัดนอกพื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม เป็นต้นมา มีจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน 3 เท่า สูงกว่าค่ามัธยฐาน 65 เท่า จังหวัดสตูลมีรายงานผู้ป่วยไข้ปวดข้อยุงลายสะสม 1 ราย อัตราป่วย 0.31 ต่อประชากรแสนคน สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของอำเภอมะนัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 มีรายงานผู้ป่วยและผู้สงสัยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 78 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 490.70 ต่อแสนประชากร ในเขตรับผิดชอบของตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ซึ่งรับผิดชอบทั้งหมด 10 หมู่บ้าน มีรายงานผู้ป่วยและผู้สงสัยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 53 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 554.33 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต (รายงาน E1) การควบคุมโรคไข้เลือดออกให้หยุดการระบาดให้ได้นั้น ต้องรณรงค์ให้ประชาชนให้พื้นที่เกิดความตระหนักและตื่นตัว ในการค้นหาแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบริเวณบ้านตนเอง ในภาชนะที่มีน้ำขังได้ เช่น อ่างน้ำ โอ่งน้ำแจกัน ยางรถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าว ฯลฯ ซึ่งการควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ต้องอาศัยจากประชาชนทั่วไป องค์กรท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือป้องกันไม่ให้ยุงกัดเพราะเนื่องจากยุงลายสามารถนำไข้เลือดออกได้ด้วย ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยทายากันยุงหรือสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อให้การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพสำนักงานสาธารณสุขอำเภอมะนังร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปาล์มพัฒนา ได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาระบบ การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการ อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564 มีกิจกรรมร่วมรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และดำเนินการงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการจัดการลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือน

ร้อยละของบ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย
ร้อยละของภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย

90.00 100.00
2 เพื่อให้ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว มีความรู้และสามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วทุกคน

80.00 100.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน)

10660.00 9760.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

30.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 46,825.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 ประชุมทีมควบคุมโรคเข็มแข็งระดับตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล 0 9,075.00 -
2 มี.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 จิตอาสารณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 0 5,500.00 -
1 เม.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 ควบคุมป้องกันไข้เลือดออกก่อนเกิดโรคและขณะเกิดโรค 0 32,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล เกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่ง เพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ในระดับครัวเรือนและชุมชน โดยร้อยละของบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายHI
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563 00:00 น.