กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอสม ห่วงใย ป้องกันประชาชนตำบลโคกชะงายห่างไกลจากโรควัณโรค ปี 2564
รหัสโครงการ 2564-L3351-02-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 21 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2564
งบประมาณ 4,995.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุไร พงค์จันทร์เสถียร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ (ต่อ/ประชากรแสนคน)
135.04
2 จำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่ป่วยจากการสัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยรายเก่า
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลจากแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564 วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของโลก จากรายงานวัณโรคของโลกปี พ.ศ. 2560 (global tuberculosis report 2017) โดยองค์การอนามัยโลก คาดประมาณอุบัติการณ์ผู้ป่วยวัณโรค (รายใหม่และกลับเป็นซ้ำ) ของโลก สูงถึง 10.4 ล้านคน (140 ต่อแสนประชากร) มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตสูงถึง 1.7 ล้านคน ในปี 2557 และในปี 2558 ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก มีภาระวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง โดยมีอัตราของวัณโรครายใหม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก 1.3 เท่า
มีผู้เสียชีวิตถึง 12,000 ราย ขณะที่มีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนการรักษาเพียง 58,714 ราย หรือประมาณร้อยละ 50 อัตราการรักษาสำเร็จร้อยละ 78 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่นานาชาติกำหนด นอกจากนี้ จากการสำรวจทำให้ทราบว่า ผู้ป่วยเกินกว่าครึ่งหนึ่งไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยเท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่าผู้ป่วยยังเข้าไม่ถึงหรือเข้าถึงการรักษาอย่างล่าช้า ยังไม่ได้สังเกตตัวเองกับอาการที่เข้าได้กับโรควัณโรคทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน ส่งผลให้อัตราป่วยลดลงน้อยกว่าเกณฑ์ จากทะเบียนงานควบคุมโรคติดต่อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ปีงบประมาณ 2562 มีผู้ป่วย จำนวน 6 คน ปีงบประมาณ 2563 มีผู้ป่วย จำนวน 4 คน ยังไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรควัณโรค ปีงบประมาณ 2563 พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 1 คนที่เป็นผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคที่ป่วยเมื่อปีงบประมาณ 2560 จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มเสี่ยงของโรควัณโรคมีทั้งหมด
7 กลุ่ม ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สัมผัสร่วมบ้าน จำนวน 400 คน ดังนั้น แก้ไขปัญหาสาธารณสุขให้ได้ผลทั้งในเชิงป้องกัน และแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ต้องดำเนินการระยะเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุม ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงได้จัดทำโครงการ อสม ห่วงใย ป้องกันประชาชนตำบลโคกชะงายห่างไกลจากโรควัณโรค ปี 2564 ขึ้น เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุก ควบคุมกลุ่มป่วย และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง เพื่อควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไปในวงกว้าง ป้องกันโรคล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรค และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบ และเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกัน และควบคุมโรค โดยบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งรังโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม.ได้รับความรู้และเป็นแกนนำการป้องกันโรควัณโรคในชุมชน

อสม.ได้รับความรู้และเป็นแกนนำการป้องกันโรควัณโรคในชุมชน ร้อยละ 80

65.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกคนได้รับการคัดกรองโรควัณโรค

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกคนได้รับการคัดกรองโรควัณโรค ร้อยละ 100

95.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 64 - 28 ก.พ. 64 พัฒนา อสม. เป็นแกนนำป้องกันโรควัณโรคในชุมชน 0 4,195.00 -
1 ก.พ. 64 - 31 ก.ค. 64 คัดกรองโรควัณโรคในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สัมผัสร่วมบ้าน 0 800.00 -
1 ก.พ. 64 - 31 ก.ค. 64 ส่งต่อผลการคัดกรองให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 0 0.00 -
รวม 0 4,995.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • อสม.ได้รับความรู้และเป็นแกนนำการป้องกันโรควัณโรคในชุมชน ร้อยละ 80
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกคนได้รับการคัดกรองโรควัณโรค ร้อยละ 100
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกคนได้รับการคัดกรองโรควัณโรค ร้อยละ 100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2563 00:00 น.