กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการแบบองค์รวม
รหัสโครงการ 60-L1472-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.วังวน
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกมล ศรีวิโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.358,99.558place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 13(3) มาตรา 18 (4) (8) (9)และมาตรา 47 ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร ดำเนินงานและบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการโดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน และเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 ณ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเรื่องการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการชุมชนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันติบาตรเทศบาลแห่งประเทศไทยและสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทยซึ่งทั้งเจ็ดฝ่ายจะร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการชุมชนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการแพทย์ฉุกเฉิน การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ การดำรงชีวิต ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่ มีสวัสดิการชุมชนรองรับและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง โดยการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในพื้นที่
เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลวังวน มีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการอื่นรวมทั้งสถานบริการทางเลือกและส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้อย่างทั่วถึงมีประสิทธิภาพตามประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด ให้เกิดการพัฒนาสุขภาพของคนในพื้นที่โดยการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังวนจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน 2. เพื่อพิจารณาออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน 3. เพื่อควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด 4. เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด 5. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุน กรณีคณะกรรมการกองทุนหมดวาระ โดยให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ข้อ 8 ของประกาศฯ
  2. คณะกรรมการกองทุนดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆหรือคณะทำงานตามความเหมาะสม 3.จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง โดยวาระสำคัญ ได้แก่การจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี โดยใช้กระบวนการจัดทำแผนอย่างมีส่วนร่วม
    4.ประชุมคณะกรรมการกองทุน เสนอแผนงานโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนมีประสิทธิภาพควรจัดทำแผนให้แล้วเสร็จอย่างช้าภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ
  3. จัดทำรูปแบบเล่มแผนปฏิบัติงานประจำปีฉบับสมบูรณ์และแนบรายงานการประชุมคณะกรรมการที่เห็นชอบแผน เพื่อเสนอประธานกรรมการลงนาม
  4. แจ้งผลการพิจารณาแผนงานโครงการ โดยส่งเป็นหนังสือให้ผู้รับผิดชอบโครงการการทราบ และแจ้งหน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติ รับเงินสนับสนุนโครงการและทราบขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินเพื่อดำเนินตามโครงการที่ผ่านการอนุมัติ
  5. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุน
  6. บันทึกแผนงานโครงการที่ได้รับอนุมัติลงในโปรแกรมบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
  7. ติดตามการโอนเงินสนับสนุนของ สปสช.ประจำปีงบประมาณ ผ่านเว็ปไซต์ สปสช.
  8. รายงานการรับเงินสมทบต่อคณะกรรมการกองทุนและบันทึกข้อมูลในระดับออนไลน์
  9. ติดตามการดำเนินงานตามโครงการโดยมีหลักฐานการติดตาม
  10. รวบรวมผลการดำเนินงานและรายงานการใช้จ่ายเงิน ให้คณะกรรมการทราบในระบบออนไลน์
  11. ดำเนินการประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนในรูปคณะกรรมการ ปีละ 2 ครั้ง ในเดือนมีนาคม และสิงหาคม (ในระบบออนไลน์)และนำผลการประเมินเสนอให้คณะกรรมการกองทุนรับทราบและกำหนดแนวทางพัฒนากองทุนอย่างต่อเนื่อง
  12. ประเมินความพึงใจของประชาชนต่อกองทุน ปีละ 1 ครั้ง อย่างน้อย 150 ชุด
  13. ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานกองทุนในหลายๆช่องทาง
  14. จัดทำรายงานบัญชีกองทุนในระบบออนไลน์ และบันทึกข้อมูลในสมุดบัญชีเงินสดรับ-จ่าย และออกรายงานทางการเงิน ให้ถูกต้อง ครบถ้วนเป็นปัจจุบัน
  15. ส่งรายงานการเงินให้กับหน่วยงานที่ที่เกี่ยวข้องทุกไตรมาสและสรุปผลงานประจำปี
  16. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ปรับปรุงสำนักงานกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน 2.การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2560 10:01 น.