กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ .โครงการอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะจากต้นทาง ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ประจำปี ๒๕๖๔
รหัสโครงการ 64-L3031-12-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุรักษ์สุขภาพตำบลเมาะมาวี
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 50,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดิง ยาบี
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูฮำหมัดนาเซร์ ดอเลาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.67,101.303place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนต่อวัน ใน พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ประมาณ 27.37 ล้านตัน หรือ 74,998 ตันต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2559 ร้อยละ 1.15 ที่มีปริมาณเกิดขึ้น 27.06 ล้านตัน เนื่องจาก การเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของชุมชนเมือง ในขณะที่ อัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อคน ประมาณ 1.13 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ลดลงจาก พ.ศ. 2559 ซึ่งมีปริมาณ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ทั้งนี้ เป็นขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ประมาณ 4.86 ล้านตัน คิดเป็น ร้อยละ 18 และในพื้นที่ 76 จังหวัด ประมาณ 22.51 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 82 เมื่อพิจารณาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2551-2560) พบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นต่อวันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,2561:ออนไลน์) สำหรับสถานการณ์ขยะของตำบลเมาะมาวี จะเกิดขยะเฉลี่ย 0.3 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน และมีการจัดเก็บประมาณ 69 ตันต่อเดือน โดยเก็บค่าใช้จ่ายการกำจัดขยะครัวเรือนละ 10 บาทต่อเดือน ซึ่งน้อยกว่าต้นทุนที่จัดเก็บจริงที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 80,000 บาทต่อเดือน จากการสังเกตพบว่าขยะส่วนใหญ่ประกอบด้วยถุงพลาสติก เศษผ้าออมสำเร็จรูปที่ปนเปื้อนประมาณร้อยละ 40 เศษพืชผัก อาหารจากครัวเรือน ขยะอินทรีย์อื่นๆ ร้อยละ 30 ขยะรีไซเคิลได้ร้อยละ 20 และขยะอื่นๆ
ซึ่งขยะเป็นแหล่งเพาะโรคต่าง ๆ มากมายและเป็นแหล่งการแพร่ของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ โรคในระบบทางเดินอาหาร โรคในระบบผิวหนังฯลฯ จะเห็นได้ขยะเป็นตัวบั่นทอนอายุของประชาชนให้สั้นลงได้ แต่ขยะบางประเภทก็มีประโยชน์หากมีวิธีการนำกลับมาใช้จะได้คุณค่าอย่างแท้จริง การกำจัดขยะไม่ว่าโดยวิธีใดย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากก็น้อยทั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยเฉพาะในบ้านเรา ไม่ได้มีการแยกขยะอันตรายที่มีสารเคมีและโลหะหนักออกไปกำจัดให้ถูกต้อง ก็ยิ่งน่าเป็นห่วงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ซึ่งการหาวิธีกำจัดขยะในรูปแบบต่าง ๆ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การกำจัดขยะให้ได้ผลต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือ“คน” ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดขยะโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการผลิตขยะโดยขาดสำนึกรับผิดชอบ ไปสู่การสร้างตระหนักและรับผิดชอบขยะที่ตนเองผลิตให้ลดลง ทิ้งเท่าที่จำเป็นและร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ
ประกอบกับรัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายและแผนงานโดยถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะโดยเน้นการจัดการขยะจากต้นทาง นั่นคือจากประชาชนผู้ทิ้งขยะ จึงจำเป็นต้องดำเนินการโครงการนี้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อันมหาศาลต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและในชุมชน

 

0.00
2 2. เพื่อประหยัดงบประมาณในการกำจัด

 

0.00
3 3. เพื่อนำวัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่

 

0.00
4 4. เพื่อให้มีการแยกขยะจากครัวเรือน

 

0.00
5 . เพื่อช่วยให้มีการจัดตั้งธนาคารขยะ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดซื้อถังขยะแบบตะแกรงชนิดแยกช่องตามประเภทขยะ
    1. ให้ความรู้พร้อมลงมือปฏิบัติการแยกขยะก่อนทิ้ง/การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ/การทำEM Ball
    2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์การแยกขยะ
    3. จัดตั้งธนาคารขยะ
  2. ตัวชี้วัดการดำเนินงานกิจกรรม Out put Out come Impact 1.ประชาชนสามารถแยกขยะได้ถูกต้อง 2.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนขยะเป็นเศรษฐกิจ และนำขยะ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.ประชาชนมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม 4.ชุมชนสะอาด ร่มรื่น สวยงาม 1.ประชาชนมีพฤติกรรมที่ดีไป ปฏิบัติที่บ้าน 2.ประชาชนสามารถกำจัดขยะในบ้าน/ชุมชนได้อย่างยั่งยืน 1.มีการแยกขยะในชุมชน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายรู้วิธีการลดขยะภายในโรงเรียนและแหล่งชุมชนใกล้เคียง   2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับมลพิษที่เกิดจากขยะและผลกระทบของขยะต่อ สิ่งแวดล้อม     3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการแยกขยะประเภทต่างๆ
        4. กลุ่มเป้าหมายมีการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิลใหม่
        5. กลุ่มเป้าหมายนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่น (กลุ่มเป้าหมายประชาชนในชุมชน จำนวน 100 คน)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2563 15:34 น.