กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพจิตดีชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 60-L4117-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานกลุ่มสตรีตำบลบาละ
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2560
งบประมาณ 26,480.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอกีเยาะ นิมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางกัญญาภัค ยอดเมฆ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.023place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางกายและจิตใจ ซึ่งสงผลกระทบต่อสภาพสังคมอย่างมาก สุขภาพจิตเป็นสภาวะทางจิตใจ อารมณ์ ความคิด และความสามารถในการปรับตัวของบุคคล ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของระบบสุขภาพประเทศไทย โดยประมาณการว่าประชากร ๑ ใน ๕ มีปัญหาสุขภาพจิตจากรายงานสถิติของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขพบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการเริ่มต้นถึงรุนแรงร้อยละ๑๔.๓ หรือ ๗ ล้านคน โดยเป็นผู้ป่วยจิตเภทประมาณร้อยละ ๐.๘ หรือ ๔๐๐,๐๐๐ คน โรคซึมเศร้าประมาณร้อยละ ๒.๘ หรือ ๑.๔ ล้านคน ในปี ๒๕๕๙ ผู้ป่วยจิตเภท ๒๖ล้านคน คิดเป็นอัตราป่วย ๗ ต่อ ๑,๐๐๐ คน ในประชากรอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปพบว่าอัตราการเข้าถึงบริการผู้ป่วยโรคจิตและโรคซึมเศร้ามีเพียงร้อยละ ๕๐ และร้อยละ ๓๓.๓๔ ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้นการเข้าถึงบริการจิตเวชเพื่อรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องในระบบบริการสุขภาพยังต่ำกว่าที่ควรจะเป็นถึงแม้ว่าจะมีความก้าวหน้าในการให้บริการสุขภาพจิตมากขึ้น ดังนั้นกลุ่มสตรีตำบลบาละ ได้ทำการสำรวจในเขตพื้นที่ตำบลบาละมีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเพิ่มขึ้นทุกปี ปี ๒๕๕๘ จำนวน ๒๗ คน ปี ๒๕๕๙ จำนวน ๓๔ คนกลุ่มสตรีตำบลบาละได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชและเพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพจิตดีชีวีมีสุขเพื่อสร้างแกนนำในการดูแลสุขภาพจิตและสร้างเครือข่ายและการเชื่อมโยงในการส่งต่อในผู้ป่วยที่มีอาการทางสุขภาพจิตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเสริมการดูแลสุขภาพจิตในตำบลบาละ

 

2 เพื่อสร้างแกนนำในการดูแลสุขภาพจิตในพื้นที่ตำบลบาละ

 

3 เพื่อลดการป่วยทางจิตด้วยอาการซึมเศร้า และเพื่อสร้างเครือข่ายและการเชื่อมโยงในการส่งต่อในผู้ป่วยที่มีอาการทางสุขภาพจิต

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 วิธีดำเนินการ(ขั้นเตรียมการ,ขั้นดำเนินการ,ขั้นสรุป) 1จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 2ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความ เข้าใจในแนวเดียวกัน 3กำหนดรูปแบบกิจกรรมการให้ความรู้และการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์
4ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการเยี่ยมบ้าน พร้อมทั้งให้ความรู้เป็นรายบุคคล เช่น อสม.และภาคีเครือข่าย 5ประชาสัมพันธ์รูปแบบกิจกรรมการให้ความรู้และการเยี่ยมบ้านเพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ได้เข้าร่วมโครงการฯ 6 ดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ ประเมินผลสรุปโครงการ 7 รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 2 ระยะเวลาดำเนินการ ๑มิถุนายน๒๕๖๐ – ๒๙ กันยายน๒๕๖๐ 3 สถานที่ดำเนินการ - ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบาละ - ชุมชนพื้นที่ตำบลบาละ หมู่ที่ ๑,๒,๓,๔,๕,๖,๗,๘,๙,๑๐ และหมู่ที่ ๑๑

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สร้างแกนนำในการดูแลสุขภาพจิตในพื้นที่ตำบลบาละ 2.ลดการป่วยทางจิตด้วยอาการซึมเศร้า 3.เพื่อสร้างเครือข่ายและการเชื่อมโยงในการส่งต่อในผู้ป่วยที่มีอาการทางสุขภาพจิต

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2560 14:49 น.