กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5287-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลท่าแพ
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 15 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 120,932.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮุซนียาฮ์ สลีมีน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.791,99.964place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2564 15 ก.ย. 2564 120,932.00
รวมงบประมาณ 120,932.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ไข้เลือดออกในจังหวัดสตูล มีผู้ป่วยแล้วทุกอำเภอ จำนวนทั้งสิ้น 50 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 15.59 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 15 - 24 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 12 ราย อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ นักเรียน จำนวน 31 ราย (สำนักงานสาะารณสุขจังหวัดสตูล 2563) อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ อำเภอมะนัง อัตราป่วยเท่ากับ 33.14 ต่อ ประชากรแสน รองลงมาคือ อำเภอท่าแพ , อำเภอควนกาหลง ,อำเภอเมือง , อำเภอควนโดน , อำเภอละงู และอำเภอทุ่งหว้า อัตราป่วยเท่ากับ 23.97 , 20.13 , 15.77 ,15.18 ,9.72 , 4.16 ต่อ ประชากรแสนคน ตามลำดับ (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล 2563) สำหรับพื้นที่ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในทุกหมู่บ้าน โดยเริ่มพบผู้ป่วยตั้งแต่เดือนมกราคา จนถึง เดือนกันยายน ปี 2563 จำนวน ทั้งสิ้น 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 126.09 ต่อแสนแระชากร โดยหมู่บ้านที่พบผู้ป่วยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ หมู่ที่ 2 บ้านท่าแพกลาง , หมู่ที่ 8 บ้านดาหลำ และหมู่ที่ 10 บ้านควนบิหลายสา จำนวนผู้ป่วยได้แก่ 3 ราย , 3 ราย และ 3ราย หมู่ที่น้อยที่สุดได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านท่าน้ำเค็มใต้ , หมู่ที่ 3 บ้านมุด และหมู่ที่ 5 บ้านควนโต๊ะเจ๊ะ จำนวนผู้ป่วยได้แก่ 2 ราย 1 ราย และ 10 รายตามลำดับ โดยเริ่มพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นคั้งแต่เดือนมีนาคมของปี และพบผู้ป่วยสูงสุดเดือนมิถุนายนของปี และคาดว่าจะมีการระบาดไปเรื่อยๆ ถ้ามไม่มีการป้องกันและควบคุมโรค   ดังนั้นเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิดการระบาดขึ้นในพื้นที่ตำบลท่าแพ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ ได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าแพปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน โดยค่า HI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 และค่า CI เท่ากับ 10

ร้อยละ 70 ของหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลท่าแพ มีค่าดัชนีลุกน้ำยุงลายในชุมชน โดยค่า HI  น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 และค่า CI  เท่ากับ 10

70.00
2 2. เพื่อป้องกันแลพลกปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  • ร้อยละ 80 ของบ้านที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสามารถดำเนินกิจกรรมควบคุมโรคอย่างทันเวลา
  • ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในพื้นที่ตำบลท่าแพ ได้รับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกก่อนเปิดภาคการศึกษา
80.00
3 3. เพื่อป้องกันควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิด Second Generation

ร้อยละ 70 ของหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลท่าแพ ไม่เกิด Second Generation ด้วยโรคไข้เลือดออก

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 120,932.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 กิจกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน และโรงเรียน 0 120,932.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมชี้แจง เจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน 1.2 ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าแพ สถานศึกษาในตำบลท่าแพ 1.3 จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และเสนอขออนุมัติโครงการ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ดำเนินโครงการ ทราบราละเอียดโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.2 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ดำเนินการทั้งหมด จำนวน 4 ครั้ง (เดือน ธันวาคม 63 , มีนาคม 64, มิถุนายน 64, กันยายน 64) 2.3 พ่นหมอกควันในโรงเรียนทุกแห่งก่อนเปิดเทอม โดยพ่นสารเคมี 2 ครั้ง เพื่อทำลายยุงพาหะตัวแก่นำโรคไข้เลือดออก 2.4 พ่นหมอกควันในหมู่บ้านทุกแห่งในพื้นที่ตำบลท่าแพ โดยพ่นสารเคมี 2 ครั้ง เพื่อทำลายยุงพาหะตัวแก่นำโรคไข้เลือดออก 2.5 แจกโลชั่นทากันยุงและทรายอะเบท สำหรับบ้านที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกและบริเวณรัศมีรอบบ้านระยะ 100 เมตร 2.6 กิจกรรม Big Cleaning Day ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดำเนินการทั้งหมด จำนวน 2 ครั้ง
  3. สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าแพมีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนมีส่วนร่วมและให้ความสำคัญกับการป้องกันไข้เลือดออกตลอดจนการดูแลสุขภาพ
  3. การป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกเป้นไปตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งกำหนดไว้ว่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือนให้มีค่า HI ไม่เกิน 10 และ CI เท่ากับ 10
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2563 10:52 น.