กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กประถมศึกษา โรงเรียนวัดจอมไตร
รหัสโครงการ 64-50117-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาโยง
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเลิศรัตน์ เอกสถาพรสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 9 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมอนามัยร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรังและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยจากจากการสำรวจของกองทันตสาธารณสุข พบว่าเด็กประถมศึกษา มีปัญหาโรคฟันผุเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ในช่วง ๑๕ ปีที่ผ่านมา สาเหตุมาจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ด้วยเหตุนี้การดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพ และการแก้ปัญหาฟันผุในวัยเรียน จึงจำเป็นที่จะต้องปรับแนวคิดและแนวทางดำเนินงานด้านทันตสุขภาพให้เป็นระบบตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินโครงการการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพให้สอดคล้องกับโครงการ    “ เด็กไทยทำได้ ”ซึ่งประกอบด้วย การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน การลดการบริโภคอาหารหวาน และการจัดการเรียนรู้ทางทันตสุขภาพ ทางหน่วยงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนประถมศึกษา โดยเฉพาะกิจกรรมสำคัญที่ช่วยลดการเกิดโรคฟันได้แก่ งานเฝ้าระวังทางทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา การตรวจสุขภาพช่องปาก การเคลือบหลุมร่องฟัน การให้ทันตสุขศึกษา การจัดการเรียนรู้ทางทันตสุขภาพ กิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน  การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อฟัน และกิจกรรมเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของสำนักทันตสาธารณสุขปี ๒๕๕๙ พบว่า สถานการณ์สุขภาพช่องปากของเด็ก๑๒ ปี มีฟันผุร้อยละ ๔๙.๔๐,ค่าเฉลี่ย ฟันผุ ถอน อุด ๑.๙ ซี่/คน ,มีเหงือกอักเสบร้อยละ ๔๖.๑๗ จากการสำรวจสภาวะ    ช่องปากของนักเรียนจังหวัดตรังประจำปี ๒๕๖๑,๒๕๖๒ มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ ๓๘.๒๐,๓๙.๐๓ มีสภาวะเหงือกอักเสบร้อยละ ๒๒.๘๐,๑๘.๙๑ ตามลำดับ และจากการสำรวจสภาวะช่องปากของนักเรียนอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ปี ๒๕๖๑,๒๕๖๒ มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ ๔๕.๓๐,๔๑.๕๘ มีสภาวะเหงือกอักเสบร้อยละ ๑๕.๗๐,๑๔.๓๖ ตามลำดับ จากการสำรวจสภาวะช่องปากนักเรียนของตำบลนาโยงเหนือในปี ๒๕๖๐ พบมีอัตราการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ๓๗.๑๔ ค่าเฉลี่ย ฟันผุ ถอน อุด ๑.๒ ซี่/คน ซึ่งสูงสุดในอำเภอนาโยง โดยโรงเรียนวัดจอมไตรพบฟันผุมากถึงร้อยละ ๗๐ มีสภาวะเหงือกอักเสบร้อยละ ๔๐ พบฟันผุค่อนข้างสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและต้องมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ ออกติดตามการดำเนินงานทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อให้การป้องกันโรคฟันผุในโรงเรียนประถมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสบผลสำเร็จ จึงจำเป็นต้องติดตามการดำเนินงานทันตสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้โรงเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการทำงานทางทันตกรรมกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลนาโยง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา จึงขอเสนอโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กประถมศึกษาในโรงเรียนวัดจอมไตร ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ปี ๒๕๖๔ ขึ้น โดยให้ครูและนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทันตสุขภาพ และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากหลังฟื้นฟูโควิท ๑๙ ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนแกนนำด้านทันตสุขภาพโรงเรียนวัดจอมไตร จำนวน ๒๔ คน

 

0.00
2 ครูแกนนำด้านทันตสุขภาพ จำนวน ๓ คน

 

0.00
3 วิทยากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๙ คน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑ ระยะเตรียมการ - ประสานงานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- เก็บรวบรวมข้อมูลสภาวะช่องปากของเด็กและวิเคราะห์ข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ - เขียนโครงการ/แผนการดำเนินงาน - ขออนุมัติโครงการ ๒ ระยะดำเนินงาน   กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมตรวจประเมินคัดกรองสุขภาพช่องปากเด็กในโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากตามมาตรฐาน         - ตรวจคัดกรองประเมินสุขภาพช่องปากส่งต่อเพื่อรับบริการเคลือบหลุมร่องฟันในเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ
    - ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก พร้อมทั้งมอบอุปกรณ์การทำความสะอาดช่องปากแก่เด็ก   กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมแกนนำนักเรียนมีความรู้และแนวทางในการดำเนินงานทันตสุขภาพในโรงเรียน   - อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและกำหนดแผนดำเนินงานในกลุ่มแกนนำนักเรียน   - ประดิษฐ์สื่อเรื่องอาหารอ่อนหวานเพื่อนำไปติดที่โรงอาหาร รองรับกิจกรรมโรงอาหารอ่อนหวานของจังหวัด   - บรรยายประกอบการฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปาก   กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อให้เด็กประถมและครูในโรงเรียนมีความรู้ด้านทันตสุขภาพที่ถูกต้อง รวมถึงพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหาร   - นำเสนอผลการสำรวจสุขภาพช่องปากและแนวทางแก้ไขปัญหาในโรงเรียน ครูและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบรับฟังผลการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน วิเคราะห์และจัดทำแผนรองรับเพื่อลดปัญหา   - ครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยฝึกตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ตามแบบ ทส.๐๐๑ ตง.รพ.นาโยง   - วางแผนนำนักเรียนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุและนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากมารับบริการทันตกรรม   กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากเพื่อให้เด็กประถมศึกษา ให้มีทักษะการทำความสะอาดช่องปากที่ถูกต้อง ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากแบบ New normal   - ฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้องเหมาะสมและการตรวจความสะอาดช่องปาก
กิจกรรมที่ ๕ กิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันคุณภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ติดตามและประเมิน ผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

แกนนำครูและนักเรียนมีความรู้และเจตนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพอนามัยช่องปาก เป็นพลังในการผลักดันการดำเนินงานทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ไปดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง เพื่อนสมาชิกในครอบครัว และขยายสู่ชุมชนเพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพช่องปากที่ดีโดยปราศจากโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมด้านส่งเสริมทันตสุขภาพและจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้ปกครองและนักเรียนเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพช่องปาก และให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาทันตสุขภาพ โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทันตสุขภาพ ทุกภาคส่วนมีส่วนช่วยในการดูแลสุขภาพช่องปากหลังฟื้นฟูโควิท ๑๙ เกิดนโยบายสาธารณะในการป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากมีการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2563 11:36 น.