กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดเหา
รหัสโครงการ 64-L1528-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านควนตัง
วันที่อนุมัติ 5 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 พฤษภาคม 2564 - 24 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรัตนา สุขขี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.803,99.668place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากในเด็กนักเรียน ระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา โดยพบว่ามีนักเรียนติดเหาประมาณ 70-80 % การดูแลความสะอาดร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะทั้งนี้ เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะ และดูดเลือดเป็นอาหารโดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาด เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียนก่อนประถมและประถมศึกษา ซึ่งอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 4-14 ปี เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจ ของสังคมรวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย โดยมากนักเรียนที่เป็นเหามักเป็นผู้ที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง ประกอบกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง เหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะอย่างสม่ำเสมอแต่เนื่องจากเหาสามารถติดต่อได้ง่ายทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัวการแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียนคือต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้องจริงจังเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ จากผลการดำเนินงานตรวจสุขภาพนักเรียนในปี 2563 พบว่านักเรียนเป็นเหา 60 คน จากนักเรียนหญิงและนักเรียนชายจำนวน 3 คนจึงเห็นความสำคัญที่ต้องกำจัดเหาในโรงเรียน และให้สุขศึกษาแก่นักเรียนเพื่อสุขอนามัยที่แข็งแรง จึงได้จัดทำโครงการกำจัดเหาในโรงเรียนขึ้นเพื่อรณรงค์กำจัดในโรคเหาในนักเรียน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาดของโรคเหาในโรงเรียนต่อไป ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างแกนนำที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโรคเหาในโรงเรียน

ร้อยละ 90 ของแกนนำมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโรคเหาในโรงเรียน

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโรคเหา การดูแลตนเอง และรักษาโรคเหา

ร้อยละ 90 ของนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโรคเหา การดูแลตนเอง และรักษาโรคเหา

0.00
3 เพื่อกำจัดเหานักเรียนในโรงเรียน

ร้อยละ 70 ของนักเรียนที่เป็นโรคเหาได้รับการกำจัดเหาและหายจากการเป็นเหา

0.00
4 เพื่อ ให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 90 นักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้น

0.00
5 เพื่อให้นักเรียนมีบุคลิกภาพดีขึ้น

ร้อยละ 90 นักเรียนมีบุคลิกภาพดีขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 13,000.00 0 0.00
1 พ.ย. 63 - 30 ก.ย. 64 1.กิจกรรมให้ความรู้และสร้างแกนนำในการกำจัดเหา อบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมเหาหายสบายหัว” ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเหา การป้องกัน การรักษาการลดการแพร่ระบาด และการกำจัดเหาที่ถูกวิธี 2.“กิจกรรมหมั่นสาง หมั่นสระ ห่างเหา” -สาธิตการกำจัดเหาและนักเรียนร่วมกันกำจัดเห 100 13,000.00 -

1.จัดทำโครงการ 2.ประชุมคณะครู/คณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อขออนุมัติโครงการ 3.ดำเนินงานตามโครงการ 3.1 กิจกรรมคัดกรอง 3.2 กิจกรรมให้ความรู้และสร้างแกนนำในการกำจัดเหา   -อบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมเหาหายสบายหัว” ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเหา การป้องกัน การรักษาการลดการแพร่ระบาด และการกำจัดเหาที่ถูกวิธี 3.3“กิจกรรมหมั่นสาง หมั่นสระ ห่างเหา”   -สาธิตการกำจัดเหาและนักเรียนร่วมกันกำจัดเหา
3.4 กิจกรรมกำกับติดตาม ค้นหารายใหม่ กำจัดเหาซ้ำในรายที่เป็นอยู่     ( 3 ครั้ง พฤษภาคม/ กรกฎาคม/กันยายน) 3.5 กิจกรรมจัดทำเอกสารข้อมูล การเผยแพร่ แผ่นพับใบความรู้ การจัดป้ายนิเทศ ประชาสัมพันธ์นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน 4.สรุปผล/ประเมินผลโครงการและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้ในเรื่องโรคเหา สามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายตนเองได้ถูกต้อง สามารถกำจัดเหาได้ด้วยตนเอง ไม่มีการเกิดเหาในนักเรียนรายใหม่ นักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้นและมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2563 15:09 น.