กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ด้วยวิธี SMART TECHNIQUE ปีที่ 4
รหัสโครงการ 2564 – L8010 – 1 - 1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 67,659.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปวิตร วณิชชานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2563 30 ก.ย. 2564 67,659.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 67,659.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 121 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจเด็กทั้งหมดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงในปี พ.ศ. 2559 - 2563 พบฟันผุร้อยละ 75.18,72.6,69.2,53.04และ62.05 ตามลำดับ การสำรวจสภาวะโรคฟันผุในเด็ก 3 ขวบ ปี พ.ศ.2563 มีค่าเฉลี่ยฟันผุคนละประมาณ 6.3 ซี่ต่อคน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีจำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนไสน เด็กจำนวนเด็กที่ได้ตรวจ 48 คน ฟันผุ 30 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าแลหลา เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 35 คน ฟันผุ 22 คน คิดเป็นร้อยละ 62.86 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากปิง เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 58 คน ฟันผุ 37 คน คิดเป็นร้อยละ 63.79 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 48 คน ฟันผุ 30 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตูแตหรำ เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 20 คน ฟันผุ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า มีอุบัติการณ์โรคฟันผุสูง และพบว่าเด็กไม่ได้รับการรักษาด้วยการอุดฟัน ทำให้มีฟันผุลุกลามจนทะลุโพรงประสาทฟัน เกิดอาการปวดทรมานทำให้เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ รับประทานอาหารได้น้อยลง เกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของเด็ก

SMART หรือ Simplified Modified Atrumatic Restoration Technique เป็นเทคนิคการอุดฟันที่คิดค้นเพื่อใช้ในการบูรณะฟันในกรณีที่ไม่สามารถจัดบริการรักษาแบบปกติได้ เป็นการให้บริการทันตกรรมเชิงรุก สามารถดำเนินการในชุมชนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เทคนิคนี้ได้มีการพัฒนาวัสดุทางทันตกรรมที่มีชื่อว่า กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ ที่มีคุณสมบัติที่ดี มีการปลดปล่อยฟลูออไรด์ในปริมาณสูง ซึ่งฟลูออไรด์ที่ปลดปล่อยออกมามีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เพิ่มการคืนกลับของแร่ธาตุ มีความสำคัญต่อการควบคุมการเกิดฟันผุหรือป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ จากการการทบทวนของ Yip และ Smales ในปี ค.ศ. 2006 พบว่า การใช้กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์เป็นสารเคลือบหลุมร่องฟันและใช้ในการทำ SMART พบว่า อัตราการยึดสมบูรณ์มีประมาณร้อยละ 70 และอัตราการเกิดฟันผุอยู่ในช่วง ร้อยละ 0-4 (อัตราการคงอยู่ละฟันไม่ผุเพิ่ม ร้อยละ 96) ส่วนเครื่องมือที่นำไปใช้ในการทำ SMART เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้มือ (Hand instrument) ในการอุดฟัน ประโยชน์ของการทำ SMART ด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ คือ ค่าใช้จ่ายต่ำ เป็นการปรับพฤติกรรมเด็ก เจ็บปวดน้อย ลดการผุลุกลามสามารถเก็บฟันไว้ได้โดยไม่ต้องถอน ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้ ซึ่งประสิทธิผลในการบูรณะด้วยวิธีนี้ ได้แนะนำให้เลือกใช้ในกิจกรรมโปรแกรมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนได้ดี

ดังนั้นกลุ่มงานทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลละงู จึงได้จัดทำโครงการฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ด้วยวิธี SMART TECNIQUE ปีที่4 ขึ้นเพื่อควบคุมโรคฟันผุ ป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ และยังเป็นการดูแลรักษาอนามัยในช่องปากให้กับเด็กต่อไปได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้และเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กรายใหม่และครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเพิ่มขึ้น
80.00
2 เพื่อลดการผุลุกลามของฟันกรามน้ำนม ในเด็กอายุ 3-5 ปี
  1. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุ ลดการสูญเสียฟันน้ำนม และลดการผุซ้ำในฟันกรามน้ำนมที่อุดไป อย่างน้อยร้อยละ 50
50.00
3 เพื่อให้เด็กอายุ 3-5 ปี ที่ฟันผุได้รับการอุดฟัน
  1. ร้อยละ 80 ของเด็กที่มีฟันผุได้เข้าถึงการรับบริการอุดฟัน
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 67,659.00 5 65,819.00
1 - 31 ม.ค. 64 อบรมให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 0 24,399.00 22,559.00
1 - 28 ก.พ. 64 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กทุกคน 0 0.00 0.00
1 - 31 มี.ค. 64 ให้การบูรณฟันด้วยวิธี SMART technique ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ 0 42,260.00 42,260.00
1 - 31 ส.ค. 64 ติดตามผลหลังการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART แล้ว เด็กไม่มีอาการปวดฟันและสุ่มการยึดติดการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART ในเด็กที่ขึ้นชั้นอนุบาลที่ได้รับการอุดฟันไปแล้ว 0 0.00 0.00
31 ส.ค. 64 - 29 ก.ย. 64 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 1,000.00 1,000.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)

กิจกรรมที่ 1 ด้านส่งเสริมป้องกัน

1.1 อบรมฟื้นฟูและให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่และครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (จัดอบรมแบ่งเป็น 6 วัน)

1.2 ฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟัน แบบ Hand on ให้แก่ผู้ปกครองรายใหม่และครูผู้ดูแลเด็ก


กิจกรรมที่ 2 ด้านการรักษา

2.1 สำรวจกลุ่มเป้าหมาย (เด็กอายุ 3-5 ปี) ในแต่ละศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งหมด 5 ศูนย์ ในสังกัด อบต.กำแพง

2.2 ดำเนินการตรวจฟันและสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียน

2.3 วิเคราะห์ข้อมูลแยกกลุ่มเด็กที่ต้องได้รับการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART

2.4 ดำเนินการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART technique ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ


กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผล

3.1 ติดตามประเมินผลประสิทธิภาพของการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART technique หลังให้บริการ 1 เดือน

3.2 ทันตบุคลากรจะเข้าไปสุ่มตรวจร้อยละ 10 การยึดติดการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART ในเด็กที่ขึ้นชั้นอนุบาลที่ได้รับการอุดฟันไปแล้ว


กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

4.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

4.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเพิ่มขึ้น
  2. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุ ลดการสูญเสียฟันน้ำนม และลดการผุซ้ำในฟันกรามน้ำนมที่อุดไปแล้ว
  3. เด็กอายุ 3-5 ปีได้เข้าถึงการรับบริการอุดฟันมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2563 11:48 น.