กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.เพื่อยกระดับเป็น อสม.หมอประจำบ้าน
รหัสโครงการ 2564 – L8010 – 1 - 3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง โรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 90,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปวิตร วณิชชานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2563 30 ก.ย. 2564 90,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 90,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง และชุมชนมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามหลักการการสาธารณสุขมูลฐาน โดยมีเครือข่ายในการดำเนินงานที่สำคัญคือ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชน ผู้มีจิตอาสา เสียสละ และเป็นจุดเชื่อมสำคัญที่จะนำนโยบายต่างๆสู่การปฏิบัติในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ในปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญด้านสาธารณสุขในการพัฒนายกระดับความรู้ อสม. ให้เป็น อสม.หมอประจำบ้านควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริการสาธารณสุขในชุมชนผ่านการพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลควบคู่ไปกับการเพิ่มบทบาทของ อสม. เพื่อลดโรคและปัญหาสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ ลดความแออัด ลดความเลื่อมล้ำ ไร้รอยต่อ ลดการรอคอย ลดภาระค่าใช้จ่าย และลดการพึ่งพาโรงพยาบาล

อสม. ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ร้อยละ ๘๐ อสม. ยังขาดองค์ความรู้ ทักษะในการดูแลสุขภาพ และขาดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานสุขภาพในชุมชน ดังนั้นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่ อสม. ให้แสดงบทบาทอย่างเข้มแข็งเพื่อเพิ่มศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถของ อสม.ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จำเป็นจะต้องพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้มีความรู้ และสามารถดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน

ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง โรงพยาบาลละงู จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. เพื่อยกระดับอสม. เป็นอสม. หมอประจำบ้าน ขึ้นเพื่อให้ อสม.ที่ผ่านการอบรมแล้วมีความรู้ เกิดทักษะในการดูแลสุขภาพ เป็นพี่เลี้ยงและสนับสนุนให้มีอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ทุกครอบครัว ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง กลุ่มภาวะพึ่งพิง และกลุ่มครอบครัวทั่วไปในละแวกบ้าน เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพ เฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ ลดโรคเรื้อรัง และเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพ เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพดี พึ่งพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(หมายเหตุ:อสม.หมอประจำบ้าน คือ ประชาชนที่มีจิตอาสาเข้ามาทำงานเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ได้เข้ารับการอบรมในหลักสูตร อสม.หมอประจำบ้านและทำหน้าที่เป็นผู้นำจัดการปัญหาสุขภาพของประชาชนร่วมกับ อสม.อสค.ทีมหมอครอบครัว เครือข่ายสุขภาพและประชาชนในพื้นที่เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.เป็น อสม.หมอประจำบ้าน

1.ร้อยละ 100 อสม.ที่ผ่านการอบรม มีความรู้ในบทบาทของ อสม. หมอประจำบ้าน

2.ร้อยละ 100 ของ อสม.ที่ผ่านการอบรม สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

3.ร้อยละ 100 ของ อสม.ที่ผ่านการอบรม สามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพด้านสุขภาพ

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 90,000.00 0 0.00
1 - 31 ม.ค. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการ 0 62,100.00 -
1 เม.ย. 64 - 31 ก.ค. 64 ฝึกปฏิบัติงานในหน่วยบริการ/พื้นที่ตำบลกำแพง 0 13,900.00 -
1 เม.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 ปฏิบัติงานในพื้นที่ 0 0.00 -
1 - 30 มิ.ย. 64 ติดตาม/ประเมินผล การฝึกปฏิบัติงานของ อสม. 0 6,500.00 -
1 - 31 ส.ค. 64 ถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน หลังจากกิจกรรมติดตาม/ประเมินผล 0 6,500.00 -
1 - 30 ก.ย. 64 รายงานผลโครงการ 0 1,000.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)


กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ (หลักสูตร อสม.หมอประจำบ้าน 6 วิชา) จำนวน ๓ วัน ๖ วิชาๆ ละ 3 ชม. รวม ๑๘ ชม.

1.1 หลักสูตรในการอบรม

  1. วิชาอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) บทบาท อสม.หมอประจำบ้านและกฎหมาย อสม.

  2. วิชาการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่

  3. วิชาส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญ /การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

  4. วิชาภูมิปัญญาไทย สมุนไพรและการใช้กัญชาทางการแพทย์/การใช้ยาสามัญประจำบ้าน

  5. วิชาเทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ

  6. วิชาการเป็นผู้นำการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม

1.2 มีระบบทีมพี่เลี้ยงในการดูแลฝึกปฏิบัติ ให้คำแนะนำแต่ละด้าน


กิจกรรมที่ 2 ฝึกปฏิบัติงานในหน่วยบริการ/พื้นที่ตำบลกำแพง

  • อสม.ฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 วันๆละ 25 คน โดยแบ่งกลุ่มๆ ละ ๕ คน ต่อพี่เลี้ยง 1 คน ฝึกปฏิบัติงานจริงในหน่วยบริการ/พื้นที่ โดยมีทีมสหวิชาชีพเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ มีการฝึกปฏิบัติ ดังนี้

  2.1 การเป็นวิทยากร อสค. / พี่เลี้ยง อสค. ที่ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง

  2.2 การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในพื้นที่

  2.3 การใช้ภูมิปัญญาไทย สมุนไพร และการใช้กัญชาทางการแพทย์

  2.4 การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม (Telemedicine) และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ

  2.5 การเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงาน

  2.6 การจัดระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ


  กิจกรรมที่ 3 อสม.นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ปฏิบัติงานในพื้นที่

  3.1 ปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการเด็ก ๐-๕ ปี

  3.2 ปฏิบัติการคัดกรองประเมินสุขภาพจิต

  3.3 ปฏิบัติการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง

  3.4 ปฏิบัติการประเมิน/เฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

  3.5 ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวานในชุมชน

  3.6 ปฏิบัติการใช้ยาสามัญประจำบ้าน/ยาสมุนไพร ที่เหมาะสม

  3.7 ปฏิบัติการปฐมพยาบาล และการช่วยเหลือเบื้องต้น

  3.8 ถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับแก่ อสม.ในพื้นที่

  3.9 รายงานผลการปฏิบัติงานเดือนละ 1 ครั้ง ผ่าน Application “Smart อสม./อสม.ออนไลน์


กิจกรรมที่ 4 ติดตาม/ประเมินผล และถอดบทเรียนการดำเนินงาน จำนวน 2 ครั้ง

  • พี่เลี้ยง/ทีมสหวิชาชีพ ติดตาม/ประเมินผล การฝึกปฏิบัติงานของ อสม. หลังจากฝึกปฏิบัติงาน 1 เดือน

  • ถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน หลังจากกิจกรรมติดตาม/ประเมินผล 3 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ยกระดับ อสม.เป็น อสม.หมอประจำบ้าน
  2. อสม.หมอประจำบ้านมีความรู้ ทักษะ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง สามารถนำเทคโนโลยีสื่อสารทางการแพทย์ในชุมชนผ่านระบบออนไลน์ และเป็นแกนนำด้านการดูแลสุขภาพในชุมชน
  3. ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดี พึ่งพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2563 11:50 น.