กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา (ประเภทที่ 5)
รหัสโครงการ 63 – L7452 – 5 – 1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 260,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวัชรากร เลิศไกร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 42 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามรายงานข่าวการระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเมืองอูฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เนื่องจากไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพรพราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2548 อันดับที่ 14 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ข้อมูล ณ วันที่ 26 มีนาคม 2563 รายงานล่าสุด วันที่ 22 ธันวาคม 2563 ระบุว่าขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวนมากกว่า 77,713,365 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตสะสมทั่วโลกจำนวน 1,708,837 ราย นอกจากนี้ประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ติดเชื้อมากที่สุด โดยมีผู้ติดเชื้อรวม 18,473,716 ราย มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 200,109 ราย และมีผู้เสียชีวิตรวม 326,772 ราย รองลงมาคือประเทศ อินเดีย บราซิล รัสเซีย ฝรั่งเศส ตามลำดับ สถานการณ์ในประเทศไทยประกาศจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ล่าสุด ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2563มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 427 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 16 ราย ซึ่งเชื่อมโยงกับตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร และจากการคัดกรองเชิงรุกในกลุ่มแรงงานต่างด้าวอีก 397 ราย และเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเข้าสถานกักกันโรค (Quarantine) 14 ราย ยอดสะสมจำนวน 5,716 ราย รวมยอดผู้ป่วยที่ติดเชื้อสะสม 5,716 ราย แบ่งเป็นการติดเชื้อในประเทศ 3,798 ราย ติดเชื้อในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจากการคัดกรองเชิงรุก 1,273 ราย และเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 1,904 ราย รักษาหายป่วยแล้ว 4,078 ราย ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล (รพ.) 1,578 ราย เสียชีวิตสะสม 60 ราย ทั้งนี้ในจำนวนผู้ป่วยสะสม 5,716 ราย รับรักษาในกรุงเทพมหานคร (กทม.) และนนทบุรีจำนวน 2,333 ราย ภาคเหนือ 187 ราย ภาคกลาง 2,335 รายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 112 ราย ภาคใต้ 748 ราย ส่วนจังหวัดยะลา มีรายงานผู้ป่วยสะสม 133 ราย รักษาหายสะสม 131 ราย เสียชีวิต 2 ราย มีรายงานพบผู้ป่วยที่เดินทางกลับจากประเทศมาเลเซีย ที่เข้ารับการกักตัว 14 วัน ณ State Quarantine จำนวน 2 ราย รักษาหาย 1 ราย เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่อาจเกิดการแพร่ระบาดขึ้นกับประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา ประกอบกับมีประชาชนที่เดินทางกลับมาจากจังหวัดเสี่ยงและมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาประกอบอาชีพในจังหวัดยะลา กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดทำโครงการรวมพลังเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ขึ้นโดยอ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2563 ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม2563) ข้อ 10/1 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ณ วันที่ 1 เมษายน 2563

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 90 ของประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลนคยะลา ได้รับความรู้เรื่องการเฝ้าระวังและการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2. ร้อยละ 90 ประชาชนที่อยู่จริงในชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา ได้รับการคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 3. ประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา มีความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มากกว่าร้อยละ 60
4. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองได้รับการส่งต่ออย่างเป็นระบบ

ตัวชี้วัดความพึงพอใจ 5. ร้อยละ 80 ประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลนครยะลามีความพึงพอใจในการดำเนินการจัดกิจกรรม/โครงการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 260,400.00 0 0.00
23 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 1 คัดกรองกลุ่มสี่ยงและให้ความรู้การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 42 ชุมชน 0 260,400.00 -
23 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 ติดตามเฝ้าระวังกลุ่มสี่ยงโรค ติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดความตระหนักและเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  2. ประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลนครยะลามีสุขภาพที่ดีปราศจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2563 16:09 น.