กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลตะลุโบะ ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3011-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 28 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กันยายน 2563 -
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางโซเฟียะห์ อีซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.853,101.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของคนไทยและประชาชนทั่วโลก ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้ สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จะทำให้เกิดไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื่อหุ้มปอดอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการตายไม่ได้สูงมากนักเพียง          ๑ – ๓% ร้ายแรงน้อยกว่า SAR ซึ่งมีอัตราการตาย ๑๐% ดังนั้น มาตรการการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) นั้นถือว่าจำเป็น ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น  เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ ไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไอ จาม หากเลี่ยงไม่ได้ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำ และสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมืออย่างถูกวิธี
ตำบลตะลุโบะ เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค เนื่องจากประชากรในพื้นที่มีการเดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลตะลุโบะ จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เพื่อเตรียมการรับมือต่อสถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID – 19) เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัย ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง ด้วยการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในกลุ่มเสี่ยง ดำเนินการให้ความรู้ แจ้งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่เด็กและผู้ปกครอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่เด็กและผู้ปกครองเกี่ยวกับโรคและการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

เด็กและผู้ปกครองมีความรู้และการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา  2019  (COVID - 19)

0.00
2 เพื่อสร้างความเข้าใจในการสวมหน้ากากอนามัย การมีหน้ากากอนามัยไว้ใช้เอง

เด็กและผู้ปกครองมีหน้ากากอนามัยใช้เองและสามารถสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 165 20,000.00 0 0.00
27 เม.ย. 64 กิจกรรมให้ความรู้ ขั้นตอนการล้างมือและสวมหน้ากากอนามัยแก่เด็กและผู้ปกครอง 110 7,750.00 -
27 เม.ย. 64 กิจกรรม จัดหาเจลล้างมือและหน้ากากอนามัย 55 12,250.00 -

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ ขั้นตอนการล้างมือและสวมหน้ากากอนามัยแก่เด็กและผู้ปกครอง ชื่อกิจกรรม กิจกรรมให้ความรู้ ขั้นตอนการล้างมือและสวมหน้ากากอนามัยแก่เด็กและผู้ปกครอง รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ - เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ ให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครอง ระยะเวลาการดำเนินงาน - ๑ กรกฎาคม – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) - เด็กมีความรู้การสวมหน้ากากอย่างถูกวิธี การล้างมือ ๗ ขั้นตอน ความรู้ของเชื้อโรค การป้องกันการไอจามที่ถูกต้อง


จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม - เงินงบประมาณ ๗,๗๕๐-.บาท รายละเอียดดังนี้ ๑. ค่าอาหารว่าง จำนวน ๑๑๐ คนๆละ ๓๕.-บาท  เป็นเงิน ๓,๘๕๐.-บาท ๒. ค่าวิทยากร จำนวน ๒ คนๆละ ๖๐๐.-บาท  เป็นเงิน ๑,๒๐๐.-บาท ๓. ค่าป้ายโครงการ  เป็นเงิน  ๙๐๐.-บาท ๔. ค่าป้ายไวนิล รายละเอียดดังนี้ - ป้ายมาตรการ ๑๐ ข้อ ขนาด ๑X๑.๕X๓๐๐ เมตร จำนวน ๒ อันๆละ ๔๕๐.-บาท  เป็นเงิน ๙๐๐.-บาท - ป้ายวิธีการล้างมือ ขนาด ๑X๑.๕X๓๐๐ เมตร จำนวน ๒ อัน ๆละ ๔๕๐.-บาท  เป็นเงิน ๙๐๐.-บาท
กิจกรรมที่ ๒ จัดหาเจลล้างมือและหน้ากากอนามัย ชื่อกิจกรรม - จัดหาเจลล้างมือและหน้ากากอนามัย รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ - จัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันเชื้อโรค
ระยะเวลาการดำเนินงาน - ๑ พฤษภาคม – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) - เด็กได้รับหน้ากากอนามัยและเจลใช้งานกรณีไม่สะดวกล้างมือ จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม - เงินงบประมาณ ๑๒,๒๕๐.-บาท รายละเอียดดังนี้ ๑. ค่าเจลแอลกอฮอล์ ขนาด ๔๐๐ มล. หัวปั๊ม จำนวน ๒๐ ขวดๆ ละ ๒๐๐.-บาท
  เป็นเงิน ๔,๐๐๐.-บาท ๒. ค่าหน้ากากอนามัย ๔ ชั้น สำหรับเด็ก ๑ กล่อง/๕๐ ชิ้น จำนวน ๒๓ กล่องๆ ละ ๑๕๐.-บาท   เป็นเงิน ๓,๔๕๐.-บาท ๓. ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายระบบลำแสงอินฟาเรทพร้อมขาตั้ง จำนวน ๒ เครื่องๆละ ๒,๔๐๐.-บาท
  เป็นเงิน ๔,๘๐๐.-บาท ขั้นดำเนินการ ๑. กิจกรรมให้ความรู้ ขั้นตอนการล้างมือและสวมหน้ากากอนามัยแก่เด็กและผู้ปกครอง
๒. จัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันเชื้อโรค ขั้นประเมินผล ๑. การติดตามและประเมิน เพื่อติดตามและประเมินหลังจากการปฏิบัติป้องกันตนเอง ๒.  สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กและผู้ปกครองมีความเข้าใจเรื่องไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ๒. เด็กและผู้ปกครองสามารถป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 11:21 น.